วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

อายุเพิ่มขึ้น ยิ่งต้องระวัง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่


สุขภาพ ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และอยากให้อยู่กับเราไปนาน ๆ แต่ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายถดถอยลง โรคภัยไข้เจ็บก็ตามมาเป็นเงา โดยเฉพาะโรคที่ประมาทไม่ได้ ดังเช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
นพ.วรมินทร์ เหรียญสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลศิริราช ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้ประกอบด้วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เนื่องจากมีความผิดปกติที่ยีนบางตัว ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอายุน้อยกว่า 45 ปี และมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อว่าเกิดจากการรับประทานอาหารแบบตะวันตก เช่น อาหารที่ไขมันสูง ของทอด อาหารประเภทปิ้งย่าง อาหารประเภทเนื้อแดง อาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ กินอาหารที่มีกากใยน้อย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศแถบตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศทางยุโรป โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา ประชากรมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตประมาณร้อยละ 6 หรือ 1 ต่อ 20 ของประชากร ประมาณการว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 138,000 รายต่อปี และจะมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณ 60,000 คนต่อปี
“เมื่อมีปัจจัยมากระตุ้นจะทำให้เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่มีการแบ่งตัวผิด ปกติเกิดเป็นติ่งเนื้องอกขึ้นมาก่อนที่เรียกว่า โพลิป (polyp) หลังจากนั้น เมื่อมีการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ ติ่งเนื้องอกก็จะเปลี่ยนเป็นก้อนมะเร็ง เป็นแผลขยายมากขึ้น โดยขั้นตอน เหล่านี้ใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี”
สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากสถิติของสถานวิทยามะเร็ง โรงพยาบาลศิริราชพบว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 4 ในเพศชาย รองจากมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในเพศหญิงพบมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

เครียดไปทำไม ทำลายสุขภาพ

   เคย ไหม เครียดโดยไม่รู้ตัว เครียดสะสมจนทำลายชีวิต เสียที่งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต ทำให้คุณหมดหวัง วันนี้เรามีทางออกให้คุณ
ผลของความเครียดต่สุขภาพอร่างกาย
คุณกำลังเครียดอยู่หรือเปล่า เพราะใันคืออาวุธร้านทำลายสุขภาพ เพราะความเครียดเป็นสิ่งหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนเปลงที่เกิด ขึ้นทำให้มีการตอบสนองต่อเรื่องราวที่เข้ามาสุขภาพ ร่างกาย จะมีการตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และการตอบสนองต่ออารมณ์
ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจากภายในตัวเองหรือจากภายนอกที่เข้ามามีผลต่อความเครียดในร่างกาย
ความเครียดมีผลต่อร่างกายอย่างไร
ร่างกายของคนเราทุกคนต้องพบกับความเครียด และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดและเรื่องราวที่เกิดขึ้น  ความเครียดอาจจะมีข้อดีตรงที่ทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอและตอบสนองต่ออันตราย ที่เกิดขึ้นในชีวิต  แต่ความเครียด ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีความเครียดอย่างต่อเนื่องโดยที่ร่างกายไม่ได้ผ่อนคลาย  ทำให้เกิดผลสุขภาพต่อร่างกายตามมา
ความเครียดที่ไม่ได้รับการผ่อนคลาย จะนำไปสู้ การตอบสนองต่อความเครียดในทางที่ผิด ซึ่งจะนำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางกาย เช่นมี อาการทางด้านสุขภาพ ไมเกรน อาการปวดหัว ปวดท้องกระเพาะ ความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก หรือมีปัญหากับการนอน
ความเครียด จะมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้น เมื่อมีการตอบสนองต่อความเครียดในทางที่ผิด เช่นการใช้แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาเสพติด  ซึ่งยิ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ ตามมา
  • ประมาณ 43% ของผู้ใหญ่ได้รับความทุกข์จากสุขภาพที่แย่ลงจากความเครียด
  • ประมาณ 75-ของคนไข้ที่พบแพทย์ที่ผู้ป่วยนอก มีส่วนที่เกี่ยวข้องมาจากความเครียด
  • ความเครียดทำให้มีผลตอร่างกาย เช่น ความเครียด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง หอบหืด ข้ออักสเบ ซึมเศร้า และการนอนไม่หลับ
  • ความเครียดมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท

เทคนิคในการช่วยลดความเครียด
ในการจัดการความเครียด มีเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยลดความเครียดได้ แถมยังรักษาให้สุขภาพของคุณห่างไกลโรคร้ายได้ค่ะ  ได้แก่
  • เริ่มจากความคิด ขจัดความเครียด ฝึกให้เป็นคนที่มีความคิดในแง่บวก
  • อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน คิดอย่างนี้ซิค่ะ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ในส่วนที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้
  • ฝึกสุขภาพจิตให้มีสติตอบสนองด้วยความสงบ ความเข้าใจ แทนที่จะใช้ความรุนแรง  ก้าวร้าว
  • เรียนรู้และฝึกฝน การใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบต่าง ๆ อย่างเช่น ท่องเที่ยว ร้องเพลง ดูหนัง ก็เป็นทางออกง่ายๆที่ดีต่อสุขภาพจิตที่ดีค่ะ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียดได้ดีขึ้น เพราะจะมีสารหลังออกมาให้เราคลายเครียดได้ค่ะ
  • ใครที่เครียดแล้วชอบทาน ระวังด้วยนะคะ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา
  • งดการใช้แอลกอฮอล์ หรือ ยาต่าง ๆ เพื่อจัดการความเครียด
  • ปรึกษาแพทย์หากไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยตัวเอง
  • จัดการเวลาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ
บทความสุขภาพ เกี่ยวกับ ความเครียด

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคใหม่ที่เกิดจากยาฆ่าแมลง


โรคใหม่ที่เกิดจากยาฆ่าแมลง

อาการผิดปกติจากสารพิษเหล่า นี้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หลังจากได้รับสารพิษเข้าไปมาก อาการผิดปกติต่อมาคือ มีปลายประสาทเสื่อม กล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรงและถึงกับเป็นอัมพาต ทำให้หยุดหายใจถึงตายได้
พิษยาปราบศัตรูพืชมีมากมาย ที่ทราบกันดีคือ พิษของสารชนิดออร์กาโนฟอสฟอรัส ซึ่งใช้กันมากในชนบทไร่นาของประเทศเขตร้อน และทราบกันมานานแล้วว่า อาการผิดปกติจากสารพิษเหล่า นี้เริ่มต้นจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากได้รับสารพิษเข้าไปมาก กล่าวคือจะมีเหงื่อออกมาก น้ำลายมาก รูม่านตาแคบ และอาจถึงตายได้ ถ้าพ้นระยะนี้ไปแล้ว ก็อาจเกิดอาการผิดปกติได้อีกในระยะหลัง (ประมาณ 2-5 สัปดาห์ต่อมา) คือ มีปลายประสาทเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณปลายแขนปลายขาอ่อนแรง และมีอาการเหน็บชาบริเวณขาเหล่านั้นด้วย
ในประเทศศรีลังกา มีรายงานว่าได้พบโรคหรือกลุ่มอาการใหม่เกิดขึ้นจากสารพิษเหล่านี้ อาการที่ว่านี้จะเกิดประมาณ 24-96 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารพิษ และเกิดหลังจากอาการพิษเฉียบพลันหมดไปแล้ว คนที่ได้รับสารพิษจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณต้นแขนต้นขา ที่คอ และที่สำคัญคือกล้ามเนื้อช่วยหายใจจะอ่อนแรงและถึงกับเป็นอัมพาตซึ่ง ทำให้หยุดหายใจถึงตายได้ การรักษาคนไข้กลุ่มอาการใหม่นี้ด้วยยาอะโทรปีน (ซึ่งได้ผลดี สำหรับการรักษาบรรเทาอาการพิษเฉียบพลัน) กลับไม่ได้ผล วิธีรักษาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จนกว่าระยะนี้จะพ้นไป
ดังนั้น ถ้าเกิดเป็นพิษขึ้นจากยาฆ่าแมลงประเภทนี้ เมื่อพ้นจากอาการเฉียบพลันแล้วให้ระวังอาการผิดปกติทางกล้ามเนื้อดังกล่าว และระวังเรื่องการหายใจให้ดี การรักษาประคับประคองให้หายใจได้ปกติจะช่วยชีวิตคนไข้ได้

ที่มาข้อมูล healthupdatetoday.com
ที่มารูปภาพ oknation.net

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

อัลไซเมอร์หนีหายด้วยอาหาร


การ ทานอาหารที่มีประโยชน์ก็สามารถช่วยให้คุณ ห่างหายจากโรคอัลไซเมอร์ได้ อัลไซเมอร์ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้ที่อายุเยอะเท่านั้น โรคอัลไซเมอร์ยังเป็นได้ในช่วงวัยทำงานอีกด้วย

สาวๆ ที่มีอาการขี้หลง ขี้ลืม อยู่เป็นประจำ นั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ โรคนี้ใช่ว่าจะเป็นได้เฉพาะสำหรับผู้สูงอายุเท่า ปัจจุบันถ้าคุณไม่ดูแลสุขภาพ คุณก็มีโอการเป็นอัลไซเมอร์ได้ไม่รู้ตัว การทานอาหารที่ถูกต้องก็ช่วยป้องกันให้คุณห่างหายจากโรคอัลไซเมอร์ได้เหมือน กันค่ะ งั้นเรามาดูกันซิค่ะว่ามีอาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้คุณ ห่างหายจากอัลไซเมอร์กันบ้าง

  • 1. วิตามินอี จากน้ำมันสลัด ที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง
  • 2. เนื้อปลา DHA ช่วยในการทำงานของเซลล์ประสาท
  • 3. ผักใบเขียว เป็นแหล่งของกรดโฟเลตช่วยลดระดับของกรดอะมิโนชนิด Homocysteine สาเหตุของการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • 4. ผลอะโวคาโด มีวิตามิน E สูงป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง และช่วยบำรุงผิว
  • 5. เมล็ดทานตะวัน อุดมไปด้วยวิตามิน E ป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง
  • 6. ถั่วลิสง และเนยถั่ว แหล่งของไขมันที่ดี และเต็มไปด้วยวิตามิน E ช่วยให้หัวใจ และสมองมีสุขภาพดีและทำงานอย่างถูกต้อง
  • 7. ไวน์แดง หากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  • 8. ผลเบอร์รี่ ช่วยกำจัดสารพิษของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียความจำ
  • 9. ธัญพืชไม่ขัดสี ลดปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือด ซึ่งอาจมีบทบาทในการเกิดโรคจากสมอง

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวาน สาเหตุทำให้ไตวายได้

เบา หวาน เป็นความผิดปกติของร่างกาย ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ซึ่งถ้ามีโรคไตแทรกซ้อนอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ง่าย แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคไตแทรกซ้อน ไปหาคำตอบกัน

โรคเบาหวาน สาเหตุทำให้ไตวายได้

เบา หวาน เป็นภาวะผิดปกติของร่างกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ
เบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ ได้มากมาย เช่น หัวใจ ตา ระบบประสาท ไต เป็นต้น
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่เกิดกับไต และทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ( Neurogenic bladder) ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกก็ได้ และภาวะไตวายระยะเริ่มต้น รวมทั้งไตวายในที่สุด
เป็นเบาหวานนานเท่าไร จึงจะมีไตวาย
จากการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยหลังจากเป็นเบาหวานมาประมาณ 10 ปี จะพบอาการแทรกซ้อนทางไต คือ เริ่มมีไตเสื่อมได้ประมาณ 30-35% ( ในบางรายจะเกิดก่อน 10 ปี และบางรายเกิดหลัง 10 ปี หลังจากเริ่มมีภาวะไตวายในระยะเริ่มต้น พบว่าอีกประมาณ 4-7 ปี จะกลายเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ถ้าไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม
จะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคแทรกซ้อนทางไตแล้ว
เนื่องจากในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร ดังนั้นจะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะพบว่าเริ่มมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติเล็กน้อย ( Microalbuminuria) และจะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความรุนแรงของภาวะไตวาย แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไตวายมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและหลังเท้า มีไข่ขาวในปัสสาวะมาก และมีค่าของเสียในเลือดสูง ระวังไม่ควรรอให้ถึงระยะนี้ เพราะไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจะเกิดไตวาย ระยะสุดท้ายในอีกไม่กี่ปี
ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น
ความผิดปกติอื่นจะช่วยส่งเสริมภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือไม่ ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น
ในปัจจุบันเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ดังนั้นการควบคุมอาหาร การดูแลรักษา และการตรวจเช็คอวัยวะต่างๆ รวมทั้งไต จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นวิธีป้องกัน หรือช่วยลดภาวะ
แทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ถ้าเป็นแล้วจะรักษาได้หรือไม่ ถ้าเป็นในระยะแรกที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมาก หรือมีไตวายแล้ว ไม่สามารถรักษาได้ ได้แต่
ช่วยรักษาให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้ายให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก :  เส้นทางสุขภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)


โรค สมองพิการ (Cerebral Palsy) เกิดจากความบกพร่องของเนื้อสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดปัญหาในการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า
ทรง ตัวได้ไม่ดี สมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของเด็กสมองพิการเกิดบกพร่อง หรือสูญเสีย ทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี เด็กสมองพิการบางคนอาจมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วย เช่น บกพร่องการได้ยิน การมองเห็น หรือการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน โรคสมองพิการได้รับการบันทึกในวารสารการแพทย์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1863 โดยนายแพทย์วิลเลียม ลิ้ตเติล ชาวอังกฤษ รายงานผู้ป่วยเด็กอายุหนึ่งปี มีความผิดปกติไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างแข็งเกร็ง ในขณะนั้นจึงเรียกชื่อว่า Little’s disease
โรค นี้ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเป็นโรคที่ไม่เป็นมากขึ้น อาการของโรคสมองพิการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย และอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อระบบประสาทเจริญเต็มที่ ความผิดปกติเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
สาเหตุ
  1. โรคสมองพิการเกิดได้จากหลาย สาเหตุ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
  2. ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิด ขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน รายงานการศึกษาพบว่าสาเหตุจากระยะในครรภ์มารดา และระยะการคลอด พบมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
  3. สาเหตุที่เกิดระหว่างคลอดพบได้ ร้อยละ 3–13 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เกิดหลังคลอดพบได้ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
  4. กลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด แต่ก็ควรค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม ก่อนจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการ
  5. เมื่อทำการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า พบความผิดปกติของสมองได้ 4 แบบ ชนิดแรกเป็นความผิดปกติที่เนื้อขาวของสมอง เรียกว่า periventricular leukomalacia (PVL) ชนิดที่สองพบพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง ชนิดที่สามพบเลือดออกในสมอง และชนิดสุดท้ายพบภาวะสมองขาดเลือดที่รุนแรง
  6. การศึกษาในยุคจีโนมิกส์ พบยีนหลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสมองพิการ เช่น ยีนที่ควบคุมการสร้างสารกลูตาเมตที่มากเกินไป ยีนที่ควบคุมการสร้างสาร neurotropins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันอันตรายให้กับเซลล์ประสาท เป็นต้น
สาเหตุที่เกิดขึ้นขณะมารดาตั้งครรภ์
  1. มารดาเป็นโรคหัดเยอรมันหรือโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น cytomegalovirus หรือเป็นโรค toxoplasmosis
  2. มารดาเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคลมชักชนิดรุนแรง หรือโรคขาดอาหารรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนกับมารดาในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เช่น แม่เป็นความดันโลหิตสูง เกิดมีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือระบบหายใจ
  3. ระหว่างตั้งครรภ์มารดาได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุ ดื่มเหล้าจัด สูบบุหรี่จัด ได้รับสารพิษ หรือสารกัมมันตรังสี
สาเหตุจากความผิดปกติของพัฒนาการของสมองทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  2. ภาวะหลอดเลือดสมองของทารกตีบหรืออุดตัน หรือความผิดปกติอื่นๆของเส้นเลือดในสมองของทารกในครรภ์
  3. ในต่างประเทศมีรายงานภาวะเลือดออกในสมองที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองและระบบประสาท
สาเหตุที่เกิดระหว่างการคลอด
  1. ทารกคลอดยาก คลอดท่าก้น ครรภ์แฝด
  2. รกพันคอ
  3. สมองทารกได้รับบาดเจ็บ หรือมีเลือดออกในสมองขณะคลอด
  4. ความผิดปกติของการคลอด เช่น รกเกาะต่ำ
  5. ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะถ้าน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1500 กรัม
สาเหตุที่เกิดขึ้นหลังคลอด
  1. ทารกแรกเกิดไม่หายใจ ภาวะตัวเขียวหลังคลอด
  2. ทารกแรกเกิดที่ไม่ร้องภายใน 5 นาทีแรกหลังคลอด
  3. ทารกแรกเกิดที่ต้องอยู่ในตู้อบเกิน 4 สัปดาห์
  4. ทารกแรกเกิดที่มีภาวะดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง ชนิดรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังคลอดในช่วงสัปดาห์แรก
  5. ทารกหรือเด็กเล็กภายใน 3-5 ขวบแรกที่เป็นโรคติดเชื้อของสมอง สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กมีการติดเชื้อในช่วงสัปดาห์แรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และโรคสมองอักเสบจากไวรัส
  6. สมองขาดออกซิเจน เช่น สิ่งแปลกปลอมติดคอ จมน้ำ บาดเจ็บของศีรษะ โรคของเส้นเลือด และการติดเชื้อในสมอง
  7. บางรายพบว่าเกิดจากเด็กอาจจะ ได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระเทือนกับสมองโดยตรง ทารกที่ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เช่น รถชน รถคว่ำ พลัดตกจากที่สูง ถูกจับเขย่าตัวแรงๆ
  8. ภาวะชักที่พบในทารกแรกเกิด
  9. อาจเกิดจากสารพิษ เช่นโรคพิษตะกั่วซึ่งเกิดขึ้นกับเด็กที่กินสีทาบ้านที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว
ลักษณะของเด็กสมองพิการ
  1. เด็กสมองพิการ มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะอ่อนปวกเปียก และจะค่อยๆ เกร็งมากขึ้นทีละน้อย ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของเด็กสมองพิการ ได้แก่ กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็ง พบความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้า เก้งก้าง และมีอาการเกร็ง กลุ่มนี้พบมากที่สุด
  2. บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อควบ คุมการเคลื่อนไหวได้ยาก แขน ขาไม่สัมพันธ์กัน หันออกไปตามทิศต่างๆ ส่วนชนิดที่มีอาการสั่น เดินเซ ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุด
  3. ในกรณีที่เป็นแบบผสม จะพบลักษณะร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิด เช่น มีอาการเกร็ง ร่วมกับมีอาการเคลื่อนไหวของแขนและขาไม่สัมพันธ์กัน หันไปคนละทิศ หรือมีอาการเกร็งและควบคุมการทรงตัวไม่ได้ มีอาการสั่น เดินเซ เป็นต้น
อาการผิดปกติของเด็กโรคสมองพิการ
  1. ไม่สามารถตั้งคลานได้
  2. มีอาการเกร็งของแขนและขาทั้งสองข้าง
  3. มีอาการเกร็งของแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่ง
  4. เมื่อฉุดเด็กนั่ง คอเด็กจะตกไปข้างหลัง
  5. มีการกำมือตลอดเวลา แม้อายุมากขึ้น
  6. ขณะนั่งและยืน เด็กไม่สามารถวางเท้าราบกับพื้นได้
  7. เด็กอ่อนปวกเปียกขณะถูกอุ้ม เด็กไม่สามารถทรงตัวได้
โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง
  1. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง หรือที่เรียกว่า spastic CP พบได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50- 75 ของทั้งหมด โดยจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติจากผลของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆตามส่วนของร่างกายที่ผิดปกติออกเป็นหลายประเภท
  2. ประเภท spastic hemiparesis พบมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง มีอาการของแขนและขาข้างเดียวกัน โดยแขนเป็นมากกว่าขา เห็นลักษณะท่าทางของแขนที่ผิดปกติชัดเจน คือ มีการงอของข้อศอก แขนคว่ำ ข้อมือและนิ้วงอ ส่วนที่ขาจะเดินเท้าจิกลง ส่วนมากโรคสมองพิการชนิดหดเกร็งกลุ่มนี้เกิดจากการบาดเจ็บช่วงการคลอด
  3. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท spastic diplegia มีอาการของขาและแขนทั้ง 2 ข้าง โดยขา 2 ข้างมีอาการมากกว่าแขน เด็กจะเดินเกร็งเท้าจิกลงหรือไขว้กัน ส่วนที่แขนพบมีเพียงความตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ไว กว่าปกติ มักมีสาเหตุจากการคลอดก่อนกำหนด
  4. ประเภท spastic quadriplegia มีอาการของแขนขาทั้งหมด โดยขา 2 ข้าง มีอาการมากกว่าแขน และในส่วนของแขน มีความผิดปกติให้เห็นชัดเจน เกิดจากพยาธิสภาพในสมองที่ใหญ่และรุนแรง มักจะมีความผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วย รวมทั้งปัญหาการดูด กลืนและการพูด
  5. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท double hemiplegia มีอาการของแขนขาทั้งหมด และแขน 2 ข้างมีอาการมากกว่าขา
  6. ผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดหด เกร็งมักมีอาการที่ขามากกว่าแขน พบปัญหาความผิดปกติด้านการเรียนรู้และอาการชักได้น้อย แต่อาจพบอาการสั่นเกิดขึ้นที่แขนขาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย บางรายอาจสั่นมากจนมีผลต่อการเคลื่อนไหว
โรคสมองพิการชนิดยุกยิก
  1. โรคสมองพิการชนิดยุกยิก หรือที่เรียกว่า athetoid CP (dyskinetic CP) พบได้ร้อยละ 10-20 ของทั้งหมด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะเหลืองหลังคลอดในทารกแรกเกิด ซึ่งปัจจุบันลดลงจากการแพทย์ที่ดีขึ้น มักมีอาการที่แขนมากกว่าขา
  2. บางรายมีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ของกล้ามเนื้อส่วนปลายแขน รวมทั้งใบหน้า (athetosis) บางรายมีการเคลื่อนไหวของใบหน้าและกล้ามเนื้อส่วนปลายแขนอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ (chorea)
  3. โรคสมองพิการชนิดยุกยิกประเภท dystonia จะมีการบิดและการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะที่ส่วนของลำตัวและ กล้ามเนื้อต้นแขน และจะคงอยู่ในท่านั้น ๆ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  4. พบว่ามีการสั่นของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ (tremor) ร่วมด้วยบ่อยในผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดยุกยิก
  5. โรคสมองพิการชนิดยุกยิกมักมี อาการผิดปกติปรากฏชัดที่กล้ามเนื้อใบหน้าและลิ้น พบอาการพูดไม่ชัดได้บ่อย บางรายมีความผิดปกติของการได้ยินร่วมด้วย
โรคสมองพิการชนิดเดินเซ
  1. โรคสมองพิการชนิดเดินเซ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ataxic CP พบได้ร้อยละ 5-10 ของทั้งหมด
  2. สูญเสียความสามารถในการทรงตัว และการรับรู้ระดับสูง-ต่ำ การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อแขนขาอาจบกพร่องอย่างรุนแรง ลักษณะการเดินไม่มั่นคงและเท้าทั้งสองแยกห่างออกจากกัน
  3. มักมีปัญหากับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วหรือที่ต้องใช้ความแม่น

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ความดันโลหิตสูงควบคุมได้ด้วยตนเอง


ผู้ ป่วยที่มีปัญหาเรื่องโรคความดันโลหิตสูง มักจะถูกแพทย์สั่งให้รับประทานอาหารจำกัดเกลือ และอาหารไทยเป็นอาหารที่รสออกเค็ม ทั้งในด้านการปรุง และการถนอมอาหาร
สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
1. ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40 – 50 ปีขึ้นไป
2. พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
3. พบมากในคนอ้วน แต่ในคนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
4. อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40%
5. บุคคล ที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจ เสียใจ อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวใน ตอนแรก แล้วจะค่อยลดลง แต่ถ้าเกิดป่วยและนานเข้า ความดันโลหิตก็จะสูงอย่างถาวร ซึ่งถ้าสูงมากก็เป็นอันตรายได้
ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากความดันโลหิตสูง โรค ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เรื้อรังรักษาไม่หายขาดผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายกับอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่
- สมอง เมื่อความดันโลหิตสูงมาก อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือ
แตกได้ง่ายกว่าคนปกติ

- หัวใจ ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หัวใจต้องทำงานหนัก อาจทำให้หัวใจวายได้
- ไต ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การทำหน้าที่ของไตจะค่อยๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
- ตา ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้าๆ ประสาทตาเสื่อม ตามัวลง
เรื่อยๆ จนอาจทำให้ตาบอดได้


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากการจำกัดเกลือแล้ว ในการประกอบอาหารทุกชนิด ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมที่เติมและแอบแฝงในอาหารดังนี้
1. ของ แห้ง ของเค็ม และรมควัน เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง หมูแฮม เบคอน ไส้กรอก ฯลฯ เพราะเกลือทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น
2. ซุปก้อน หรือซุปซอง อาหารซองสำเร็จรูปทุกชนิด
3. อาหารหมักดองทุกชนิด รวมทั้งน้ำผลไม้กระป๋อง
4. สารเคมีบางชนิดที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ผงชูรส,ผงฟู,โซดาทำขนมซึ่งจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก
5. อาหารที่ผสมเกลือ เช่น ถั่วอบเนย ถั่วทอด มันทอด ข้าวโพดคั่ว ฯลฯ
6. เนยหรือมาการีนที่ผสมเกลือ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ และกะทิรวมถึงการประกอบอาหารที่ใช้น้ำมันมาก ๆ
7. น้ำ และเครื่องดื่ม เกลือแร่ ที่มีโซเดียมผสมอยู่ด้วย
8. อาหารหวานจัดเช่นขนมหวานทุกชนิด พยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวและระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น
9. เครื่อง ดื่มต่างๆ เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีสารคาเฟอีนสูงกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้นสูบฉีดโลหิตแรงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
10. หลีก เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์จะทำให้หลอดเลือดขยายตัวการไหลเวียนของโลหิตเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนัก และแรงดันโลหิตจะพุ่งสูงขึ้นนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ควรงดเด็ดขาด และงดสูบบุหรี่

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites