วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid

 

       โรค ไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิด ปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อม ไทรอยด์ เกิดจากฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต ออกฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าบางครอบครัวเป็นโรคนี้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า
ต่อมไทรอยด์เป็น ต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าหรือผีเสื้อ ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดยาว 4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ต่อมไทรอยด์สร้างเองโดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่กินเข้าไปเป็น วัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็นปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจกับประสาท ไทรอยด์ฮอร์โมนยังทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ T4 และ T3 โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียกว่า hypothyroid ร่างกายจะเกิด การเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดเรียก ว่า hyperthyroid
ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์มี มากมายหลายชนิด มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายหลายเท่า โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไป เรียกว่าโรคคอพอก ซึ่งจำแนกออกได้เป็นคอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจากนั้นยังมีโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีสต์ของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่ทำงานน้อยไปเรียก hypothyroid ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียกว่า hyperthyroid
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรค hyperthyroid เท่านั้น ซึ่ง สาเหตุสำคัญของโรคคอพอกเป็นพิษคือ โรค Grave’s disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม บางคนเป็นโรค multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อนในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และสาเหตุที่พบน้อยกว่าโรคอื่นคือ thyroiditis ช่วงแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ
ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะ มีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ ก็เพราะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ
image
การวินิจฉัยโดยตรวจเลือดพบว่าระดับ T3 หรือ T4 ในเลือดสูง และ ระดับ TSH ในเลือดต่ำ เรียกว่าเป็นการตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมนTSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 และ T4 เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง การตรวจไทรอยด์สแกนเพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือมีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากการตรวจไทรอยด์สแกนเป็นการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับ ประทานเกลือไอโอดีนที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ของการสแกนเพื่อบอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ ตรวจว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ และช่วยแยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็นชนิดใด สำหรับวิธี needle aspiration เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา การตรวจอุลตราซาวน์ก็เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น ถุงน้ำชนิดธรรมดา
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์ จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษาโดยกินยาที่มีฤทธิ์ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีนชนิดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาเพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่าการดื่มน้ำแร่นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยแต่ละรายได้
การรักษาโดยการกินยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole ส่วนการใช้ยาอื่นๆ beta-blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค ยารับประทานสำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษที่มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมี เพียงสองชนิดเท่านั้น หากแพ้ยาชนิดแรกอาจลองใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง หากลักษณะของการแพ้ยาเป็นแบบคัน,ผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อลดจำนวนเม็ดยาลง แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ควบคู่ไปกับยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ
image
การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodine เมื่อ ผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับไอโอดีนที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยาไทรอยด์ ฮอร์โมนไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่ รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง โดยทั่วไปการรักษาไทรอยด์เป็นพิษคือ การกินยารักษาไทรอยด์ ซึ่งจะให้กินประมาณ 2 ปี ถ้ากินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หาย หรือไม่สามารถหยุดยาได้ จึงแนะนำรักษาด้วยการกลืนแร่รังสี การกลืนแร่รังสีทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การกลืนน้ำแร่ (ไม่ใช่กลืนก้อนแร่) เป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง “น้ำแร่” คือ ไอโอดีนพิเศษที่มีคุณสมบัติปลดปล่อยรังสีได้ ให้ผู้ป่วยดื่มเพียงครั้งเดียว ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นใด ต่อมไทรอยด์จะค่อยๆ ฝ่อจากฤทธิ์ของรังสี เมื่อต่อมไทรอยด์ฝ่อแล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหาย ปริมาณรังสีจากน้ำแร่ไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร
สำหรับการผ่าตัด ปัจจุบัน ได้รับความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใดของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, คอพอก เป็นต้น สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น และมียาที่จะใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่ว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องตรวจถี่ขึ้น เจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์บ่อยขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าโรคประจำตัวจะเป็นสาเหตุของความพิการในเด็ก การทำแท้งไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้นกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษเมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้ง ครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU, metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้ การให้ฮอร์โมนไทรอกซินระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์
ระหว่างที่ให้นมบุตร ไม่ ควรตรวจไทรอยด์สแกน หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษา เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน และ PTU สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย ในแง่ของการเป็นหมัน ทั้งคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคน ปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประ

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites