วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

อายุเพิ่มขึ้น ยิ่งต้องระวัง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่


สุขภาพ ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และอยากให้อยู่กับเราไปนาน ๆ แต่ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายถดถอยลง โรคภัยไข้เจ็บก็ตามมาเป็นเงา โดยเฉพาะโรคที่ประมาทไม่ได้ ดังเช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
นพ.วรมินทร์ เหรียญสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลศิริราช ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้ประกอบด้วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เนื่องจากมีความผิดปกติที่ยีนบางตัว ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอายุน้อยกว่า 45 ปี และมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อว่าเกิดจากการรับประทานอาหารแบบตะวันตก เช่น อาหารที่ไขมันสูง ของทอด อาหารประเภทปิ้งย่าง อาหารประเภทเนื้อแดง อาหารที่มีกากใยอาหารต่ำ กินอาหารที่มีกากใยน้อย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศแถบตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศทางยุโรป โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา ประชากรมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตประมาณร้อยละ 6 หรือ 1 ต่อ 20 ของประชากร ประมาณการว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 138,000 รายต่อปี และจะมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณ 60,000 คนต่อปี
“เมื่อมีปัจจัยมากระตุ้นจะทำให้เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่มีการแบ่งตัวผิด ปกติเกิดเป็นติ่งเนื้องอกขึ้นมาก่อนที่เรียกว่า โพลิป (polyp) หลังจากนั้น เมื่อมีการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ ติ่งเนื้องอกก็จะเปลี่ยนเป็นก้อนมะเร็ง เป็นแผลขยายมากขึ้น โดยขั้นตอน เหล่านี้ใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี”
สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากสถิติของสถานวิทยามะเร็ง โรงพยาบาลศิริราชพบว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 4 ในเพศชาย รองจากมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนในเพศหญิงพบมากเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

เครียดไปทำไม ทำลายสุขภาพ

   เคย ไหม เครียดโดยไม่รู้ตัว เครียดสะสมจนทำลายชีวิต เสียที่งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต ทำให้คุณหมดหวัง วันนี้เรามีทางออกให้คุณ
ผลของความเครียดต่สุขภาพอร่างกาย
คุณกำลังเครียดอยู่หรือเปล่า เพราะใันคืออาวุธร้านทำลายสุขภาพ เพราะความเครียดเป็นสิ่งหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนเปลงที่เกิด ขึ้นทำให้มีการตอบสนองต่อเรื่องราวที่เข้ามาสุขภาพ ร่างกาย จะมีการตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และการตอบสนองต่ออารมณ์
ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจากภายในตัวเองหรือจากภายนอกที่เข้ามามีผลต่อความเครียดในร่างกาย
ความเครียดมีผลต่อร่างกายอย่างไร
ร่างกายของคนเราทุกคนต้องพบกับความเครียด และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดและเรื่องราวที่เกิดขึ้น  ความเครียดอาจจะมีข้อดีตรงที่ทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอและตอบสนองต่ออันตราย ที่เกิดขึ้นในชีวิต  แต่ความเครียด ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีความเครียดอย่างต่อเนื่องโดยที่ร่างกายไม่ได้ผ่อนคลาย  ทำให้เกิดผลสุขภาพต่อร่างกายตามมา
ความเครียดที่ไม่ได้รับการผ่อนคลาย จะนำไปสู้ การตอบสนองต่อความเครียดในทางที่ผิด ซึ่งจะนำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางกาย เช่นมี อาการทางด้านสุขภาพ ไมเกรน อาการปวดหัว ปวดท้องกระเพาะ ความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก หรือมีปัญหากับการนอน
ความเครียด จะมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้น เมื่อมีการตอบสนองต่อความเครียดในทางที่ผิด เช่นการใช้แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาเสพติด  ซึ่งยิ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ ตามมา
  • ประมาณ 43% ของผู้ใหญ่ได้รับความทุกข์จากสุขภาพที่แย่ลงจากความเครียด
  • ประมาณ 75-ของคนไข้ที่พบแพทย์ที่ผู้ป่วยนอก มีส่วนที่เกี่ยวข้องมาจากความเครียด
  • ความเครียดทำให้มีผลตอร่างกาย เช่น ความเครียด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง หอบหืด ข้ออักสเบ ซึมเศร้า และการนอนไม่หลับ
  • ความเครียดมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท

เทคนิคในการช่วยลดความเครียด
ในการจัดการความเครียด มีเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยลดความเครียดได้ แถมยังรักษาให้สุขภาพของคุณห่างไกลโรคร้ายได้ค่ะ  ได้แก่
  • เริ่มจากความคิด ขจัดความเครียด ฝึกให้เป็นคนที่มีความคิดในแง่บวก
  • อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน คิดอย่างนี้ซิค่ะ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ในส่วนที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้
  • ฝึกสุขภาพจิตให้มีสติตอบสนองด้วยความสงบ ความเข้าใจ แทนที่จะใช้ความรุนแรง  ก้าวร้าว
  • เรียนรู้และฝึกฝน การใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบต่าง ๆ อย่างเช่น ท่องเที่ยว ร้องเพลง ดูหนัง ก็เป็นทางออกง่ายๆที่ดีต่อสุขภาพจิตที่ดีค่ะ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียดได้ดีขึ้น เพราะจะมีสารหลังออกมาให้เราคลายเครียดได้ค่ะ
  • ใครที่เครียดแล้วชอบทาน ระวังด้วยนะคะ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา
  • งดการใช้แอลกอฮอล์ หรือ ยาต่าง ๆ เพื่อจัดการความเครียด
  • ปรึกษาแพทย์หากไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยตัวเอง
  • จัดการเวลาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ
บทความสุขภาพ เกี่ยวกับ ความเครียด

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคใหม่ที่เกิดจากยาฆ่าแมลง


โรคใหม่ที่เกิดจากยาฆ่าแมลง

อาการผิดปกติจากสารพิษเหล่า นี้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หลังจากได้รับสารพิษเข้าไปมาก อาการผิดปกติต่อมาคือ มีปลายประสาทเสื่อม กล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรงและถึงกับเป็นอัมพาต ทำให้หยุดหายใจถึงตายได้
พิษยาปราบศัตรูพืชมีมากมาย ที่ทราบกันดีคือ พิษของสารชนิดออร์กาโนฟอสฟอรัส ซึ่งใช้กันมากในชนบทไร่นาของประเทศเขตร้อน และทราบกันมานานแล้วว่า อาการผิดปกติจากสารพิษเหล่า นี้เริ่มต้นจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากได้รับสารพิษเข้าไปมาก กล่าวคือจะมีเหงื่อออกมาก น้ำลายมาก รูม่านตาแคบ และอาจถึงตายได้ ถ้าพ้นระยะนี้ไปแล้ว ก็อาจเกิดอาการผิดปกติได้อีกในระยะหลัง (ประมาณ 2-5 สัปดาห์ต่อมา) คือ มีปลายประสาทเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณปลายแขนปลายขาอ่อนแรง และมีอาการเหน็บชาบริเวณขาเหล่านั้นด้วย
ในประเทศศรีลังกา มีรายงานว่าได้พบโรคหรือกลุ่มอาการใหม่เกิดขึ้นจากสารพิษเหล่านี้ อาการที่ว่านี้จะเกิดประมาณ 24-96 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารพิษ และเกิดหลังจากอาการพิษเฉียบพลันหมดไปแล้ว คนที่ได้รับสารพิษจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณต้นแขนต้นขา ที่คอ และที่สำคัญคือกล้ามเนื้อช่วยหายใจจะอ่อนแรงและถึงกับเป็นอัมพาตซึ่ง ทำให้หยุดหายใจถึงตายได้ การรักษาคนไข้กลุ่มอาการใหม่นี้ด้วยยาอะโทรปีน (ซึ่งได้ผลดี สำหรับการรักษาบรรเทาอาการพิษเฉียบพลัน) กลับไม่ได้ผล วิธีรักษาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จนกว่าระยะนี้จะพ้นไป
ดังนั้น ถ้าเกิดเป็นพิษขึ้นจากยาฆ่าแมลงประเภทนี้ เมื่อพ้นจากอาการเฉียบพลันแล้วให้ระวังอาการผิดปกติทางกล้ามเนื้อดังกล่าว และระวังเรื่องการหายใจให้ดี การรักษาประคับประคองให้หายใจได้ปกติจะช่วยชีวิตคนไข้ได้

ที่มาข้อมูล healthupdatetoday.com
ที่มารูปภาพ oknation.net

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

อัลไซเมอร์หนีหายด้วยอาหาร


การ ทานอาหารที่มีประโยชน์ก็สามารถช่วยให้คุณ ห่างหายจากโรคอัลไซเมอร์ได้ อัลไซเมอร์ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้ที่อายุเยอะเท่านั้น โรคอัลไซเมอร์ยังเป็นได้ในช่วงวัยทำงานอีกด้วย

สาวๆ ที่มีอาการขี้หลง ขี้ลืม อยู่เป็นประจำ นั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ โรคนี้ใช่ว่าจะเป็นได้เฉพาะสำหรับผู้สูงอายุเท่า ปัจจุบันถ้าคุณไม่ดูแลสุขภาพ คุณก็มีโอการเป็นอัลไซเมอร์ได้ไม่รู้ตัว การทานอาหารที่ถูกต้องก็ช่วยป้องกันให้คุณห่างหายจากโรคอัลไซเมอร์ได้เหมือน กันค่ะ งั้นเรามาดูกันซิค่ะว่ามีอาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้คุณ ห่างหายจากอัลไซเมอร์กันบ้าง

  • 1. วิตามินอี จากน้ำมันสลัด ที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง
  • 2. เนื้อปลา DHA ช่วยในการทำงานของเซลล์ประสาท
  • 3. ผักใบเขียว เป็นแหล่งของกรดโฟเลตช่วยลดระดับของกรดอะมิโนชนิด Homocysteine สาเหตุของการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • 4. ผลอะโวคาโด มีวิตามิน E สูงป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง และช่วยบำรุงผิว
  • 5. เมล็ดทานตะวัน อุดมไปด้วยวิตามิน E ป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง
  • 6. ถั่วลิสง และเนยถั่ว แหล่งของไขมันที่ดี และเต็มไปด้วยวิตามิน E ช่วยให้หัวใจ และสมองมีสุขภาพดีและทำงานอย่างถูกต้อง
  • 7. ไวน์แดง หากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  • 8. ผลเบอร์รี่ ช่วยกำจัดสารพิษของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียความจำ
  • 9. ธัญพืชไม่ขัดสี ลดปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือด ซึ่งอาจมีบทบาทในการเกิดโรคจากสมอง

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวาน สาเหตุทำให้ไตวายได้

เบา หวาน เป็นความผิดปกติของร่างกาย ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ซึ่งถ้ามีโรคไตแทรกซ้อนอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ง่าย แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคไตแทรกซ้อน ไปหาคำตอบกัน

โรคเบาหวาน สาเหตุทำให้ไตวายได้

เบา หวาน เป็นภาวะผิดปกติของร่างกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ
เบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ ได้มากมาย เช่น หัวใจ ตา ระบบประสาท ไต เป็นต้น
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่เกิดกับไต และทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ( Neurogenic bladder) ทำให้มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีอาการปัสสาวะไม่ออกก็ได้ และภาวะไตวายระยะเริ่มต้น รวมทั้งไตวายในที่สุด
เป็นเบาหวานนานเท่าไร จึงจะมีไตวาย
จากการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยหลังจากเป็นเบาหวานมาประมาณ 10 ปี จะพบอาการแทรกซ้อนทางไต คือ เริ่มมีไตเสื่อมได้ประมาณ 30-35% ( ในบางรายจะเกิดก่อน 10 ปี และบางรายเกิดหลัง 10 ปี หลังจากเริ่มมีภาวะไตวายในระยะเริ่มต้น พบว่าอีกประมาณ 4-7 ปี จะกลายเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ถ้าไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม
จะทราบได้อย่างไรว่ามีโรคแทรกซ้อนทางไตแล้ว
เนื่องจากในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร ดังนั้นจะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะพบว่าเริ่มมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติเล็กน้อย ( Microalbuminuria) และจะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความรุนแรงของภาวะไตวาย แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไตวายมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและหลังเท้า มีไข่ขาวในปัสสาวะมาก และมีค่าของเสียในเลือดสูง ระวังไม่ควรรอให้ถึงระยะนี้ เพราะไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจะเกิดไตวาย ระยะสุดท้ายในอีกไม่กี่ปี
ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ยิ่งน้ำตาลในเลือดสูงมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากและเกิดเร็วขึ้น
ความผิดปกติอื่นจะช่วยส่งเสริมภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือไม่ ความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน ให้เกิดอาการเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น
ในปัจจุบันเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย ดังนั้นการควบคุมอาหาร การดูแลรักษา และการตรวจเช็คอวัยวะต่างๆ รวมทั้งไต จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นวิธีป้องกัน หรือช่วยลดภาวะ
แทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ถ้าเป็นแล้วจะรักษาได้หรือไม่ ถ้าเป็นในระยะแรกที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ แต่ถ้าเป็นระยะหลังที่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะมาก หรือมีไตวายแล้ว ไม่สามารถรักษาได้ ได้แต่
ช่วยรักษาให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้ายให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก :  เส้นทางสุขภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)


โรค สมองพิการ (Cerebral Palsy) เกิดจากความบกพร่องของเนื้อสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดปัญหาในการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า
ทรง ตัวได้ไม่ดี สมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของเด็กสมองพิการเกิดบกพร่อง หรือสูญเสีย ทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี เด็กสมองพิการบางคนอาจมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วย เช่น บกพร่องการได้ยิน การมองเห็น หรือการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน โรคสมองพิการได้รับการบันทึกในวารสารการแพทย์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1863 โดยนายแพทย์วิลเลียม ลิ้ตเติล ชาวอังกฤษ รายงานผู้ป่วยเด็กอายุหนึ่งปี มีความผิดปกติไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างแข็งเกร็ง ในขณะนั้นจึงเรียกชื่อว่า Little’s disease
โรค นี้ไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเป็นโรคที่ไม่เป็นมากขึ้น อาการของโรคสมองพิการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย และอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อระบบประสาทเจริญเต็มที่ ความผิดปกติเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
สาเหตุ
  1. โรคสมองพิการเกิดได้จากหลาย สาเหตุ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ถึงประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่สมองเติบโตเต็มที่ สมองจะไม่ถูกทำลายไปมากกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความพิการ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็จะติดยึดหรือเกร็งมากขึ้น
  2. ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิด ขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน รายงานการศึกษาพบว่าสาเหตุจากระยะในครรภ์มารดา และระยะการคลอด พบมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
  3. สาเหตุที่เกิดระหว่างคลอดพบได้ ร้อยละ 3–13 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เกิดหลังคลอดพบได้ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด
  4. กลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการทั้งหมด แต่ก็ควรค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม ก่อนจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการ
  5. เมื่อทำการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า พบความผิดปกติของสมองได้ 4 แบบ ชนิดแรกเป็นความผิดปกติที่เนื้อขาวของสมอง เรียกว่า periventricular leukomalacia (PVL) ชนิดที่สองพบพัฒนาการที่ผิดปกติของสมอง ชนิดที่สามพบเลือดออกในสมอง และชนิดสุดท้ายพบภาวะสมองขาดเลือดที่รุนแรง
  6. การศึกษาในยุคจีโนมิกส์ พบยีนหลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคสมองพิการ เช่น ยีนที่ควบคุมการสร้างสารกลูตาเมตที่มากเกินไป ยีนที่ควบคุมการสร้างสาร neurotropins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันอันตรายให้กับเซลล์ประสาท เป็นต้น
สาเหตุที่เกิดขึ้นขณะมารดาตั้งครรภ์
  1. มารดาเป็นโรคหัดเยอรมันหรือโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น cytomegalovirus หรือเป็นโรค toxoplasmosis
  2. มารดาเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคลมชักชนิดรุนแรง หรือโรคขาดอาหารรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนกับมารดาในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน เช่น แม่เป็นความดันโลหิตสูง เกิดมีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือดหรือระบบหายใจ
  3. ระหว่างตั้งครรภ์มารดาได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุ ดื่มเหล้าจัด สูบบุหรี่จัด ได้รับสารพิษ หรือสารกัมมันตรังสี
สาเหตุจากความผิดปกติของพัฒนาการของสมองทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  2. ภาวะหลอดเลือดสมองของทารกตีบหรืออุดตัน หรือความผิดปกติอื่นๆของเส้นเลือดในสมองของทารกในครรภ์
  3. ในต่างประเทศมีรายงานภาวะเลือดออกในสมองที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองและระบบประสาท
สาเหตุที่เกิดระหว่างการคลอด
  1. ทารกคลอดยาก คลอดท่าก้น ครรภ์แฝด
  2. รกพันคอ
  3. สมองทารกได้รับบาดเจ็บ หรือมีเลือดออกในสมองขณะคลอด
  4. ความผิดปกติของการคลอด เช่น รกเกาะต่ำ
  5. ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะถ้าน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1500 กรัม
สาเหตุที่เกิดขึ้นหลังคลอด
  1. ทารกแรกเกิดไม่หายใจ ภาวะตัวเขียวหลังคลอด
  2. ทารกแรกเกิดที่ไม่ร้องภายใน 5 นาทีแรกหลังคลอด
  3. ทารกแรกเกิดที่ต้องอยู่ในตู้อบเกิน 4 สัปดาห์
  4. ทารกแรกเกิดที่มีภาวะดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง ชนิดรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังคลอดในช่วงสัปดาห์แรก
  5. ทารกหรือเด็กเล็กภายใน 3-5 ขวบแรกที่เป็นโรคติดเชื้อของสมอง สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กมีการติดเชื้อในช่วงสัปดาห์แรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และโรคสมองอักเสบจากไวรัส
  6. สมองขาดออกซิเจน เช่น สิ่งแปลกปลอมติดคอ จมน้ำ บาดเจ็บของศีรษะ โรคของเส้นเลือด และการติดเชื้อในสมอง
  7. บางรายพบว่าเกิดจากเด็กอาจจะ ได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระเทือนกับสมองโดยตรง ทารกที่ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เช่น รถชน รถคว่ำ พลัดตกจากที่สูง ถูกจับเขย่าตัวแรงๆ
  8. ภาวะชักที่พบในทารกแรกเกิด
  9. อาจเกิดจากสารพิษ เช่นโรคพิษตะกั่วซึ่งเกิดขึ้นกับเด็กที่กินสีทาบ้านที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว
ลักษณะของเด็กสมองพิการ
  1. เด็กสมองพิการ มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะอ่อนปวกเปียก และจะค่อยๆ เกร็งมากขึ้นทีละน้อย ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของเด็กสมองพิการ ได้แก่ กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็ง พบความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้า เก้งก้าง และมีอาการเกร็ง กลุ่มนี้พบมากที่สุด
  2. บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อควบ คุมการเคลื่อนไหวได้ยาก แขน ขาไม่สัมพันธ์กัน หันออกไปตามทิศต่างๆ ส่วนชนิดที่มีอาการสั่น เดินเซ ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุด
  3. ในกรณีที่เป็นแบบผสม จะพบลักษณะร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิด เช่น มีอาการเกร็ง ร่วมกับมีอาการเคลื่อนไหวของแขนและขาไม่สัมพันธ์กัน หันไปคนละทิศ หรือมีอาการเกร็งและควบคุมการทรงตัวไม่ได้ มีอาการสั่น เดินเซ เป็นต้น
อาการผิดปกติของเด็กโรคสมองพิการ
  1. ไม่สามารถตั้งคลานได้
  2. มีอาการเกร็งของแขนและขาทั้งสองข้าง
  3. มีอาการเกร็งของแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่ง
  4. เมื่อฉุดเด็กนั่ง คอเด็กจะตกไปข้างหลัง
  5. มีการกำมือตลอดเวลา แม้อายุมากขึ้น
  6. ขณะนั่งและยืน เด็กไม่สามารถวางเท้าราบกับพื้นได้
  7. เด็กอ่อนปวกเปียกขณะถูกอุ้ม เด็กไม่สามารถทรงตัวได้
โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง
  1. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง หรือที่เรียกว่า spastic CP พบได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50- 75 ของทั้งหมด โดยจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติจากผลของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆตามส่วนของร่างกายที่ผิดปกติออกเป็นหลายประเภท
  2. ประเภท spastic hemiparesis พบมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง มีอาการของแขนและขาข้างเดียวกัน โดยแขนเป็นมากกว่าขา เห็นลักษณะท่าทางของแขนที่ผิดปกติชัดเจน คือ มีการงอของข้อศอก แขนคว่ำ ข้อมือและนิ้วงอ ส่วนที่ขาจะเดินเท้าจิกลง ส่วนมากโรคสมองพิการชนิดหดเกร็งกลุ่มนี้เกิดจากการบาดเจ็บช่วงการคลอด
  3. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท spastic diplegia มีอาการของขาและแขนทั้ง 2 ข้าง โดยขา 2 ข้างมีอาการมากกว่าแขน เด็กจะเดินเกร็งเท้าจิกลงหรือไขว้กัน ส่วนที่แขนพบมีเพียงความตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ไว กว่าปกติ มักมีสาเหตุจากการคลอดก่อนกำหนด
  4. ประเภท spastic quadriplegia มีอาการของแขนขาทั้งหมด โดยขา 2 ข้าง มีอาการมากกว่าแขน และในส่วนของแขน มีความผิดปกติให้เห็นชัดเจน เกิดจากพยาธิสภาพในสมองที่ใหญ่และรุนแรง มักจะมีความผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วย รวมทั้งปัญหาการดูด กลืนและการพูด
  5. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท double hemiplegia มีอาการของแขนขาทั้งหมด และแขน 2 ข้างมีอาการมากกว่าขา
  6. ผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดหด เกร็งมักมีอาการที่ขามากกว่าแขน พบปัญหาความผิดปกติด้านการเรียนรู้และอาการชักได้น้อย แต่อาจพบอาการสั่นเกิดขึ้นที่แขนขาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย บางรายอาจสั่นมากจนมีผลต่อการเคลื่อนไหว
โรคสมองพิการชนิดยุกยิก
  1. โรคสมองพิการชนิดยุกยิก หรือที่เรียกว่า athetoid CP (dyskinetic CP) พบได้ร้อยละ 10-20 ของทั้งหมด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะเหลืองหลังคลอดในทารกแรกเกิด ซึ่งปัจจุบันลดลงจากการแพทย์ที่ดีขึ้น มักมีอาการที่แขนมากกว่าขา
  2. บางรายมีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ของกล้ามเนื้อส่วนปลายแขน รวมทั้งใบหน้า (athetosis) บางรายมีการเคลื่อนไหวของใบหน้าและกล้ามเนื้อส่วนปลายแขนอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ (chorea)
  3. โรคสมองพิการชนิดยุกยิกประเภท dystonia จะมีการบิดและการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะที่ส่วนของลำตัวและ กล้ามเนื้อต้นแขน และจะคงอยู่ในท่านั้น ๆ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  4. พบว่ามีการสั่นของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ (tremor) ร่วมด้วยบ่อยในผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดยุกยิก
  5. โรคสมองพิการชนิดยุกยิกมักมี อาการผิดปกติปรากฏชัดที่กล้ามเนื้อใบหน้าและลิ้น พบอาการพูดไม่ชัดได้บ่อย บางรายมีความผิดปกติของการได้ยินร่วมด้วย
โรคสมองพิการชนิดเดินเซ
  1. โรคสมองพิการชนิดเดินเซ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ataxic CP พบได้ร้อยละ 5-10 ของทั้งหมด
  2. สูญเสียความสามารถในการทรงตัว และการรับรู้ระดับสูง-ต่ำ การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อแขนขาอาจบกพร่องอย่างรุนแรง ลักษณะการเดินไม่มั่นคงและเท้าทั้งสองแยกห่างออกจากกัน
  3. มักมีปัญหากับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วหรือที่ต้องใช้ความแม่น

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ความดันโลหิตสูงควบคุมได้ด้วยตนเอง


ผู้ ป่วยที่มีปัญหาเรื่องโรคความดันโลหิตสูง มักจะถูกแพทย์สั่งให้รับประทานอาหารจำกัดเกลือ และอาหารไทยเป็นอาหารที่รสออกเค็ม ทั้งในด้านการปรุง และการถนอมอาหาร
สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
1. ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40 – 50 ปีขึ้นไป
2. พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
3. พบมากในคนอ้วน แต่ในคนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
4. อาจเนื่องจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30-40%
5. บุคคล ที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใจ เสียใจ อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวใน ตอนแรก แล้วจะค่อยลดลง แต่ถ้าเกิดป่วยและนานเข้า ความดันโลหิตก็จะสูงอย่างถาวร ซึ่งถ้าสูงมากก็เป็นอันตรายได้
ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากความดันโลหิตสูง โรค ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เรื้อรังรักษาไม่หายขาดผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายกับอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่
- สมอง เมื่อความดันโลหิตสูงมาก อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือ
แตกได้ง่ายกว่าคนปกติ

- หัวใจ ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หัวใจต้องทำงานหนัก อาจทำให้หัวใจวายได้
- ไต ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง การทำหน้าที่ของไตจะค่อยๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
- ตา ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้าๆ ประสาทตาเสื่อม ตามัวลง
เรื่อยๆ จนอาจทำให้ตาบอดได้


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากการจำกัดเกลือแล้ว ในการประกอบอาหารทุกชนิด ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมที่เติมและแอบแฝงในอาหารดังนี้
1. ของ แห้ง ของเค็ม และรมควัน เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง หมูแฮม เบคอน ไส้กรอก ฯลฯ เพราะเกลือทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น
2. ซุปก้อน หรือซุปซอง อาหารซองสำเร็จรูปทุกชนิด
3. อาหารหมักดองทุกชนิด รวมทั้งน้ำผลไม้กระป๋อง
4. สารเคมีบางชนิดที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ผงชูรส,ผงฟู,โซดาทำขนมซึ่งจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก
5. อาหารที่ผสมเกลือ เช่น ถั่วอบเนย ถั่วทอด มันทอด ข้าวโพดคั่ว ฯลฯ
6. เนยหรือมาการีนที่ผสมเกลือ ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ และกะทิรวมถึงการประกอบอาหารที่ใช้น้ำมันมาก ๆ
7. น้ำ และเครื่องดื่ม เกลือแร่ ที่มีโซเดียมผสมอยู่ด้วย
8. อาหารหวานจัดเช่นขนมหวานทุกชนิด พยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวและระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น
9. เครื่อง ดื่มต่างๆ เช่น ชา กาแฟ ซึ่งมีสารคาเฟอีนสูงกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้นสูบฉีดโลหิตแรงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
10. หลีก เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์จะทำให้หลอดเลือดขยายตัวการไหลเวียนของโลหิตเร็วและแรงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนัก และแรงดันโลหิตจะพุ่งสูงขึ้นนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ควรงดเด็ดขาด และงดสูบบุหรี่

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

โลหิตจาง (anemia)


โลหิต จาง (anemia) เป็นเครื่องบอกเหตุว่ามีโรคหรือสาเหตุซ่อนอยู่ ซึ่งต้องค้นหาดูว่าเป็นอะไร แล้วจึงจะทำการรักษาที่ถูกต้อง โรคที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางพบบ่อยในบ้านเรา
 แต่หากไม่ได้ใส่ใจ และปล่อยทิ้งไว้จนเป็นมากอาจจะก่อให้เกิดผลเสียได้ ในภาวะโลหิตจางหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ซีด” นั้น ร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่าค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง

สาเหตุ

  1. เกิดจากการเสียเลือด เช่น เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากอุจจาระที่เป็นสีดำ และเหนียวคล้ายยางมะตอย ผู้ที่มีพยาธิปากขออยู่ในลำไส้ หรือสตรีที่เสียเลือดมากผิดปกติจากการมีประจำเดือน
  2. โลหิตจางจากโรคทางพันธุกรรมในบ้านเรามีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมียเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกง่ายผิดปกติ ซึ่งโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางพันธุกรรม
  3. โลหิตจางจากภาวะการขาดอาหาร ส่วนมากจะพบในคนไข้ที่รับประทานอาหารไม่ได้ หรือรับประทานได้ แต่ไม่ครบทุกประเภท มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบหมู่
  4. โลหิตจางจากการที่ร่างกายสร้างสารมาทำลายเม็ดเลือดของตัวเอง อาทิ โรคเอสแอลอี โลหิตจางจากปัญหาของมะเร็งเม็ดเลือด
  5. โลหิตจางที่เป็นผลจากโรคอื่น เช่น โรคตับ โรคไต
ภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางอย่างสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางอย่างทำได้แค่ประคับประคองให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด สิ่งที่สำคัญ คือ อย่าละเลยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ จะทำให้การรักษาโรคได้ผลดี และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการรักษาโรคใน
ระยะที่เป็นมาเนิ่นนานแล้ว

อาการ
ผู้ที่โลหิตจางไม่มากหรือไม่มีโรคหลอดเลือดร่วมด้วยอาจไม่มีอาการก็ได้ อาการจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความ
รุนแรงของโลหิตจางและความเฉียบพลันของการเกิดโรค

  1. อาการเหนื่อยง่าย เหนื่อย ง่ายหมายถึงรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง เช่น เคยเดินบันไดได้โดยไม่เหนื่อยแต่กลับเหนื่อย ถ้ามีโลหิตจางรุนแรง แค่เดินในบ้านก็อาจเหนื่อยแล้ว เวลาเหนื่อยอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย ที่รุนแรงอาการมีอาการของโรคหัวใจวาย คือ เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ เป็นต้น
  2. อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  3. อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
  4. อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน
    เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร นอนไม่หลับ
  5. อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง ทำให้อาการของหัวใจรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น
  6. อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลอดเลือดของขาทำให้ปวดขา เวลาเดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดพักบ่อยๆ เวลาเดิน
  7. อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด
การวินิจฉัย
โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จาก ลักษณะประวัติอาการ การตรวจร่างกายโดยละเอียด การตรวจลักษณะของเม็ดเลือด รวมทั้งการตรวจพิเศษบางอย่างเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของภาวะโลหิตจาง

การรักษา

หลักการสำคัญในการรักษาโลหิตจาง คือ รักษาที่สาเหตุของโลหิตจาง แนวทางการรักษาประกอบด้วยการรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น รักษาภาวะหัวใจวาย ลดการออกแรง ให้ออกซิเจน ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลันผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำ เป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตาม
ส่วนการรักษาจำเพาะเป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัด สาเหตุและให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอ

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเหงื่อเลือด


    โรค เหงื่อเลือด กรณีผู้ป่วยน้องแสตมป์ อายุ 11 ปี ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่าป่วยเป็นโรคประหลาด มีเลือดไหลออกมาทางตา จมูก และปาก นานกว่า 2 ปีแล้ว
 โดยก่อนที่จะมีอาการ พบว่ผู้ป่วยปวดศีรษะอย่างรุนแรง และทุกวันนี้อาการก็ยังกำเริบ ซึ่งทุกครั้งที่มีอาการจะทรมาน เพราะความเจ็บปวด บิดาเล่าว่าน้องแสตมป์ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเมื่อเกิดอาการจะทำให้มองไม่เห็น บางครั้งหนักถึงขั้นช็อคหมดสติ ซึ่งได้พาไปรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วทั้งภาคอีสานแล้ว แต่ไม่หาย โดยหมอบอกว่าอาการของน้องแสตมป์เป็นรายแรกที่พบในประเทศไทย และทั่วโลกจะมีผู้ป่วยในลักษณะนี้ 6-7 คนเท่านั้น
แนวทางการวินิจฉัย
สาขาโลหิตวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับผู้ป่วยเข้ารับการรักษา โดยทำการเจาะเลือด และตรวจหาสาเหตุ แต่ ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะต้องพักรักษากี่วัน กรณีของน้องแสตมป์ต้องตรวจก่อนว่าเป็นโรคเลือดออกง่ายหยุดยากชนิดใด เพื่อให้ทราบว่าขาดสารอะไรก็ทดแทนสารนั้น โดยจะต้องตรวจดูการทำงานของเกล็ดเลือด และโปรตีนที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด
โรค เลือดออกง่ายหยุดยาก อาจเป็นชนิดที่มีมีอาการน้อย เช่น เลือดกำเดาออก เลือดออกตามกระเพาะอาหาร หรือเป็นชนิดที่รุนแรง โรคเลือดออกง่ายหยุดยากมีทั้งเกิดจากกรรมพันธุ์ และไม่เกิดจากกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยอาจไปรับประทานยาที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว
สภาวะปกติ
ใน สภาวะปกติเลือดที่จะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดในสภาพของเหลวได้เนื่องจากมี ขบวนการห้ามเลือด ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ หลอดเลือด เกร็ดเลือด โปรตีนช่วยในการแข็งตัวของเลือด และสารสลายไฟบริน โดยที่หลอดเลือดทำหน้าที่เป็นช่องทางของการไหลเวียนของเลือดไปทั่วร่างกาย แล้ว เซลล์บุผิว และผนังของหลอดเลือดยังทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารสำคัญต่างๆ ที่มีผลอย่างมากต่อการขบวนการห้ามเลือด เช่น PGI2, vWF, t-PA
ส่วน เกร็ดเลือด นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่หลอดเลือดแล้ว ยังมีส่วนช่วยอย่างมากต่อขบวนการแข็งตัวของเลือด โดยทำหน้าที่ป้อนสารฟอสโฟไลปิด เพื่อทำให้ขบวนการแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้ ในขณะที่ขบวนการละลายลิ่มเลือดทำหน้าที่รักษาสมดุลของการแข็งตัวของเลือด เพื่อไม่ให้มีการแข็งตัวของเลือดมากเกินไป โดยทำการละลายลิ่มเลือดที่มีมากเกินนั้นออกไป
การ ทำงานร่วมกันของปัจจัยทั้งสี่ทำให้เลือดไหลเวียนได้ในหลอดเลือด และเลือดหยุดไหลได้ในเวลาที่เหมาะสมเมื่อเกิดบาดแผล อย่างไรก็ตามเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับปัจจัยอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้ มันไม่สามารถทำงานได้ เช่น กรณีความผิดปกติของหลอดเลือด เกร็ดเลือด โปรตีนช่วยในการแข็งตัวของเอด หรือมีการทำงานมากเกินไป เช่น กรณีความผิดปกติของกระบวนการสลายลิ่มเลือด ก็จะทำให้เกิดอาการเลือดออกง่ายและหยุดยาก
ลักษณะอาการ
ผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกเฉียบพลัน รุนแรง หรือ เรื้อรังและไม่รุนแรง อาการเหล่านี้บางครั้งอาจจะไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของกลไกการห้ามเลือดของ ร่างกายก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามอาการเลือดออกที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกการห้ามเลือดของ ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นชนิดพันธุกรรมหรือเกิดขึ้นภายหลัง มักจะมีลักษณะเฉพาะดังนี้
  1. เลือดออกในหลายๆ อวัยวะ เช่น ผิวหนัง จมูก ปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้พร้อมๆ กัน หรือมีประจำเดือนออกมาก นาน หรือมาเร็วกว่าปกติ
  2. อาจมีประวัติครอบครัว หรือประวัติโรคเลือดนำมาก่อน
  3. เวลาเจาะเลือด ฉีดยา จะมีเลือดออกมาก ออกนาน และมีจ้ำเขียวที่รอยเข็มฉีดยา
  4. ตรวจพบความผิดปกติของหลอดเลือด เกร็ดเลือด หรือ ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
ทั้งนี้เมื่อได้รับการตรวจร่างกาย ลักษณะและอาการของเลือดที่ออก แพทย์สามารถระบุถึงสาเหตุของอาการเลือดออกในเบื้องต้นได้อย่างคร่าวๆ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
นอก จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้ว การตรวจทางห้องปฏิบัติการนับว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยผู้ที่มีปัญหาเลือดออกง่ายหยุดยากมี หลายระดับดังนี้
  1. การทดสอบเบื้องต้น ประกอบด้วย
    • การตรวจนับเม็ดเลือด เป็นการทดสอบเบื้องต้นของผู้ป่วยเกือบทุกรายรวมทั้งผู้ที่สงสัยว่ามีปัญหาเลือดออกง่ายหยุดยาก การตรวจ CBC ของผู้ที่สงสัยเลือดออกง่ายหยุดยากจะต้องให้ความสนใจกับจำนวน และรูปร่างลักษณะของเกร็ดเลือดเป็นพิเศษ
    • รายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของเกร็ดเลือด หรือหลอดเลือด ควรทำการทดสอบ tourniquet test, bleeding time (BT), clot retraction time (CR) และควรตรวจดู platelet morphology อย่างจริงจัง
    • รายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของ clotting factors จะต้องทำการตรวจ venous clotting time (VCT), activated partial thromboplastin time (aPTT), prothrombin time (PT) และ thrombin time (TT)
    • ในรายที่สงสัย hyperfibrinolysis ควรทำ clot lysis (CL) time
  2. การทดสอบเพื่อค้นหาความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคนั้นโดยตรง
    • ถ้าสงสัย hemophilia ควร assay หาระดับ factor VIII สำหรับ hemophilia A และ assay หาระดับ factor IX ถ้าสงสัย hemophilia B
    • ถ้า สงสัย DIC นอกจากการทำ CBC เพื่อตรวจดู RBC morphology และ platelet อย่างละเอียด และทำ VCT, aPTT, PT, TT แล้ว ควรตรวจระดับ fibrin degradation products (FDP), D-dimer และ fibrinogen ด้วย
    • ใน รายที่สงสัย platelet dysfunction นอกจากการทำ CBC เพื่อนับจำนวนและดูรูปร่างเกร็ดเลือด และทำ BT, CR แล้วควรตรวจ platelet retention time, platelet aggregation และ platelet factor 3 release ด้วย
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

คำแนะนำในการบริโภคอาหารเมื่อเป็นเบาหวาน


สำหรับผู้ป่วยที่เป้นโรคเบาหวานนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกวิธีนั้นก็เป็นการช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคเบาหวานได้เช่นกัน..
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานของอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยประมาณจากแป้ง ( คาร์โบไฮเดรต ) ประมาณ 55-60% เนื้อสัตว์ ( โปรตีน ) ประมาณ 15-20% ไขมันประมาณ 25%
2. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดปริมาณการรับประทานอาหารลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารเดิมที่เคยทาน และลดอาหารมันๆ หรืออาหารทอด
3. รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา และของว่างจุกจิก
5. พยายามรับประทานอาหารในปริมาณสม่ำเสมอ เท่าๆกันทุกมื้อ
6. หากมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับความดันสูง หรือโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
7. ควบคุมอาหารอยู่ตลอด แม้ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปรกติแล้วก็ตาม


ที่มา : 108health.com

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

เมื่อ “หูหนู” มีปัญหา/Health Line สายตรงสุขภาพ

อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เพราะถ้าหากเด็กแรกเกิดหรือว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน มันจะส่งผลต่อพัฒนาการในด้านอื่นๆ ของเขาตามไปด้วย ไล่ตั้งแต่การพูด การสื่อสาร ไปจนถึงการเข้าสังคม แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยของเรามีปัญหาเช่นนั้น
นพ.พิบูล วชิรลาภไพฑูรย์ หัวหน้างานโสต คอ นาสิก โรงพยาบาลเด็ก ให้ข้อมูลว่า อาการที่หูมีปัญหาในการได้ยิน สามารถเกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่แรกคลอด ไปจนถึงหลังคลอด และจะเป็นตลอดไป หากไม่ได้รับการรักษา
“แรกคลอดก็คือเป็นโรคจากพันธุกรรม หรือว่ามีการติดเชื้อของมารดาช่วงตั้งครรภ์ อย่างพวกหัดเยอรมันซึ่งคุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเอาไว้ เพราะถ้าติดเชื้อแล้ว มันจะแก้ไขไม่ได้เลย ส่วนอีกอย่างก็คือหลังคลอด ก็จะมีโรคหลายโรค เช่นมีความผิดปกติทางใบหน้าหรือใบหู หรือมีการติดเชื้อหลังคลอด เช่น ติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งก็เป็นเรื่องอุบัติเหตุ”
ปัจจุบันเด็กที่มีปัญหาในการได้ยิน มีอัตราส่วนอยู่ที่หนึ่งถึงสองคน ต่อจำนวนเด็กหนึ่งพันคน และกลุ่มที่ถือว่าเสี่ยงมากที่สุด คือกลุ่มเด็กแรกคลอดที่ต้องนอนในห้องไอ.ซี.ยู.นานๆ หรือคลอดก่อนกำเนิด ในทางการแพทย์ มีวิธีการสังเกตแบบเป็นวิทยาศาตร์ ตลอดจนเฝ้าระวังเพื่อศึกษาว่าเด็กคนไหนมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ประกอบไปด้วย 1.มีบุคคลในครอบครัวมีปัญหาเรื่องการได้ยินบกพร่อง หรือหูหนวกตั้งแต่วัยเด็ก 2.แม่มีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ 3.ทารกที่มีปัญหากระดูกใบหน้า กะโหลกศีรษะ รูหู ใบหู ผิดรูปไปจากปกติ 4.มีปัญหาระหว่างการคลอด โดยเฉพาะทารกจะต้องได้รับการพยาบาลในห้องไอ.ซี.ยู.ตัวเหลืองได้รับการถ่าย เลือด ใช้เครื่องช่วยหายใจ 5.น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 1500 กรัม
“เด็กที่ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือในกรณีที่ว่าเด็กโตหน่อย จะพูดช้า หรือบางคนก็อาจจะไม่ค่อยสนสิ่งแวดล้อม แต่ดีที่สุดก็คือตรวจการได้ยินตั้งแต่แรกคลอด เหมือนเป็นการคัดกรอง เพราะว่าบางที จะใช้วิธีสังเกต มันก็สังเกตได้ยากเหมือนกัน” นพ.พิบูล กล่าว
ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้มากที่สุด ก็คือการตรวจคัดกรองตั้งแต่แรกเกิดว่าลูกน้อยมีปัญหาในการได้ยินหรือไม่ และยิ่งรู้ได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาได้เร็วเท่านั้น เนื่องจากบ่อยครั้งที่พ่อแม่กว่าจะรู้ว่าลูกรักมีปัญหาการได้ยิน ก็ต่อเมื่อลูกอายุ 2-3 ขวบ หรือเริ่มโตแล้ว และตอนนั้นก็อาจจะไม่ทันการต่อการรักษาเยียวยา
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ”

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

อาการมือสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ ?


อาการ มือสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นอาการที่ประชากรหลายล้านคนบนโลกนี้กำลังเป็นกันอยู่ ซึ่งอาการผิดปกติกับร่างกายเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ อาจส่งผลเสียร้ายแรงในอนาคตก็ได้
หากท่านเคยมีอาการมือสั่น ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย จึงควรหาทางป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับการป้องกันและลดอาการมือสั่น สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ 1. ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ เช่น ชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ระบบประสาททำงานไม่เป็นปกติ
2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ สำหรับผู้ที่มีอาการติดเหล้า หากขาดแอลกอฮอล์ก็จะทำให้มือสั่นได้เช่นกัน ควรลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงเรื่อยๆ จนสามารถหยุดการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำได้ )
3. รู้ข้อมูลสรรพคุณของยาที่รับประทาน การรับประทานยาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะ หรือยาสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาจะดีที่สุด
4. ฝึกควบคุมสภาพจิตใจของตนเองให้ได้ สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับสุขภาพกายเสมอ การฝึกควบคุมอารมณ์และสภาพจิตใจ ด้วยการทำสมาธิและรู้จักผ่อนลายตนเองในขณะที่มีอารมณ์ผิดปกติ ก็สามารถลดความเครียดและอาการมือสั่นในระยะยาวได้เช่นกัน
5. ตรวจเช็คด้านกายภาพ กระดูกมือหรือเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ผิดปกติก็ทำให้เกิดอาการมือสั่นได้เช่นกัน การรักษาโดยการรับประทานยา การนวด หรือการฝังเข็มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็สามารถรักษาอาการมือสั่นได้เช่นกัน
6. การใช้ยาสมุนไพร การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรนั้นสามารถรักษาโรคต่างๆได้จริง แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์อย่างรอบคอบในการใช้สมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการมือสั่นและมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

มารู้จักโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกกัน


 โรค ใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy นี้ได้ถูกบรรยายครั้งแรกโดยเซอร์ชาร์ลส์ เบลล์ แพทย์ชาวสกอตแลนด์ในปี พ.ศ.2372 และพบว่า เกิดจากรอยโรคที่เส้นประสาทสมองที่ 7
ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก หรือที่เรียกว่าโรคเบลล์พัลซี่ (Bell’s palsy) กัน
โรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy นี้ได้ถูกบรรยายครั้งแรกโดยเซอร์ชาร์ลส์ เบลล์ แพทย์ชาวสกอตแลนด์ในปี พ.ศ.2372 และพบว่า เกิดจากรอยโรคที่เส้นประสาทสมองที่ 7 ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า น่าแปลกที่ว่า ผู้ป่วยมักเป็นที่ใบหน้าข้างขวามากกว่าข้างซ้ายเล็กน้อย โรคนี้พบได้บ่อยมากคือในช่วงชีวิตหนึ่งของคนทั่วไปมีโอกาสเกิดโรคได้ถึงร้อย ละ 1

กลุ่มเสี่ยง


สำหรับคนทั่วไปจะมีความเสี่ยงสูงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาด้านการอุดตันของหลอดเลือดขนาด เล็กที่เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทตายจากการขาดเลือด และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อใหม่หรือการ กำเริบของไวรัสในร่างกาย

สาเหตุ


ผู้ป่วยโรคใบหน้าอัมพาต ครึ่งซีกเกือบทั้งหมดไม่ได้มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก และสาเหตุในผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเริม (Herpes simplex virus type1) หรือไวรัสอื่นๆ ที่เส้นประสาทสมองที่ 7 เช่น ไวรัสโรคสุกใส ไวรัสเอปสไตน์บาร์ หรือเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคไลม์ ซึ่งการติดเชื้อข้างต้นนี้อาจเป็นการติดเชื้อใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเป็นการกำเริบจากการติดเชื้อที่แฝงอยู่เดิมในร่างกายก็ได้ เมื่อร่างกายอ่อนแรงลง ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยความเครียดทางจิตใจ หรือจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือโรคทางกายอื่นๆ ก็จะทำให้เกิดโรคขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบสาเหตุที่จำเพาะของโรคนี้
นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองที่ 7 ที่ทำให้เกิดอาการไม่ต่างจาก Bell’s palsy ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น อุบัติเหตุต่อเส้นประสาทโดยตรง การติดเชื้อบริเวณข้างเคียง หูชั้นในอักเสบติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการ


  • อาการเด่นที่มักนำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนแรง หรือที่เรียกว่าอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก โดยเกิดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือข้ามคืน
  • ผู้ป่วยมักปิดตาไม่สนิท ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ง่าย มีน้ำตาไหลมากขึ้น
  •  เนื่องจากเส้นประสาท สมองที่ 7 นี้มีแขนงเล็กๆ ไปที่กล้ามเนื้อของหูชั้นกลาง บางรายจึงอาจมีอาการปวดบริเวณหลังหูร่วมด้วย เช่น รู้สึกว่ามีเสียงดังหรือก้องขึ้นในหูด้านเดียวกัน
  • บางรายอาจมีการรับรสที่ผิดปกติร่วมด้วย แต่เป็นส่วนน้อย

การวินิจฉัย


แพทย์จะซักประวัติถึง อาการและระยะเวลาที่เกิดขึ้น อาการร่วมอื่น สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ และตรวจร่างกาย เพื่อยืนยันถึงรอยโรคที่เส้นประสาทสมองนี้ และแยกโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันออกไป
โดยรูปแบบของอาการใบหน้า อ่อนแรงในโรคนี้จะมีลักษณะพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากความผิดปกติของใบหน้าอ่อนแรงที่เกิดจากเหตุโรคในสมองคือ กลุ่มกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งครึ่งซีกที่รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก (ที่ใช้ยักคิ้ว/ย่นหน้าผาก) และกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนล่างของใบหน้า (ที่ใช้แสยะยิ้ม แยกเขี้ยว เม้มปาก) จะมีความผิดปกติทั้งคู่ ผู้ ป่วยจึงดูมีลักษณะว่าใบหน้าด้านนั้นดูห้อยลง ปิดตาไม่สนิท ย่นหน้าผากไม่ได้ ดื่มน้ำแล้วน้ำซึมจากมุมปาก หรือเมื่อให้ผู้ป่วยยิงฟัน หน้าจะถูกดึงไปด้านตรงข้าม ทำให้ดูเหมือนว่าหน้าเบี้ยวด้านตรงข้าม
โดยทั่วไป แพทย์จึงมักให้การวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม พิเศษ ส่วนในรายที่สงสัยว่ามีปัจจัยเสี่ยงสูงข้างต้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน และเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ก็ควรตรวจหาโรคเบาหวาน โรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ ตรวจเอกซเรย์ หรือภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง ฯลฯ

การรักษา


ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยที่แน่นอนก่อน แม้ว่าโดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาพิเศษ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความแตกต่างกัน ตามความรุนแรงของโรคตั้งแต่ต้น และผู้สูงอายุจะฟื้นตัวช้ากว่าวัยอื่น แต่โดยเฉลี่ยอาการจะเริ่มดีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 และดีขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอดในช่วง 2-3 เดือน แล้วจึงเริ่มช้าลง แต่หลังจากมีอาการนาน 6 เดือนถึง 1 ปี โอกาสที่อาการจะดีขึ้นจะลดลงมาก
อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในการวิจัยเพื่อหายามารักษาให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการใช้ยาต้านไวรัสและยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ ซึ่งข้อมูลของงานวิจัยที่ผ่านมา ยืนยันถึงประโยชน์ของการให้ยาสเตียรอยด์ เช่น การให้ยาเพรดนิโซโลน (prednisolone) เป็นเวลา 7-14 วัน จะทำให้เส้นประสาทมีการฟื้นตัวเร็วขึ้น และลดความพิการจากโรคได้บ้าง แต่ต้องให้ยานี้ภายใน 2-3 วัน
หลังเกิดอาการขึ้น หากให้ช้ากว่านั้นจะไม่ได้ประโยชน์เท่าไร ส่วนยาต้านไวรัส เช่น acyclovir พบว่า มีประโยชน์ไม่ชัดเจน และหากจะให้ก็ควรที่จะให้โดยเร็วเช่นกัน
ส่วนการทำกายภาพบำบัด การกระตุ้นไฟฟ้า การฝังเข็มนั้นยังสรุปผลไม่ชัดเจน จึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นแนวทางการรักษามาตรฐาน

ภาวะแซกซ้อนของโรค


โดยรวมผู้ป่วยราวร้อยละ 70-80 จะมีอาการหายสนิท แต่ส่วนหนึ่งจะมีอาการใบหน้าเป็นอัมพาตเพียงบางส่วน ส่วนน้อยจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมา เช่น ใบหน้าเป็นอัมพาตบางส่วนถาวร ใบหน้ากระตุก ซึ่งอาการสำคัญคือ กล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวไม่ประสานกัน (synkinesis) เช่น เมื่อผู้ป่วยปิดตา มุมปากจะกระตุกขึ้น ปรากฎการณ์นี้เกิดจากการที่เส้นประสาทงอกกลับไปที่กล้ามเนื้อผิดตำแหน่ง ทำให้การควบคุมของกล้ามเนื้อผิดปกติ ส่วนในบางราย การงอกกลับที่ผิดปกติของเส้นประสาทนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีน้ำตาไหลขณะกินอาหาร ที่เรียกว่า “กลุ่มอาการน้ำตาจระเข้” (crocodile tear syndrome)

วิธีดูแลและปฏิบัติตัวของผู้ป่วย


  • การดูแลดวงตา เนื่องจากผู้ป่วยมักปิดตาได้ไม่สนิท ทำให้เกิดการระคายเคืองตา ตาแห้ง และกระจกตาแห้งได้ง่าย จึงควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตาบ่อยๆ เช่น ใช้น้ำตาเทียมทุก 2-4 ชั่วโมงในระหว่างวัน และใช้น้ำตาเทียมชนิดเจลหรือขี้ผึ้งหยอดตาก่อนนอน ส่วนในช่วงกลางวันควรใส่แว่นเพื่อป้องกันฝุ่นและป้องกันอุบัติเหตุต่อตา ในช่วงกลางคืนอาจใช้เทปช่วยปิดเปลือกตาให้หลับตาได้สนิท หรือใช้แผ่นปิดตาปิดชั่วคราวในระหว่างนั้น
  • การรับประทานอาหารและ ดื่มน้ำ ควรทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหรืออาหารหก หรือรั่วจากมุมปาก (ผู้ป่วยมักใช้หลอดดูดเครื่องดื่มไม่ได้เพราะปิดปากไม่สนิท
  • ควรบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าในระหว่างที่เส้นประสาทกำลังฟื้นตัว เช่น ฝึกยิงฟัน หลับตา เม้มปาก ย่นหน้าผาก
  • ควรรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง หากได้รับยาต้านไวรัสและสเตียรอยด์
  • ควรรีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อประเมินใหม่อีกครั้ง หากมีอาการอื่นเพิ่มขึ้นจากใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เช่น มีอาการเดิมในด้านตรงข้าม เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน การได้ยินลดลง ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง
  • อาจปรึกษาแพทย์เพื่อผ่า ตัดกล้ามเนื้อบางส่วน หากผู้ป่วยยังมีอาการไม่ดีขึ้นหลังเวลาผ่านไป 6 เดือน – 1 ปีแรก และมีภาวะแทรกซ้อนของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้า ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแสดงสีหน้าได้บ้าง โดยเฉพาะการยิ้ม
จากข้อมูลข้างต้น ผู้อ่านคงจะสบายใจขึ้นบ้างว่า โรคนี้ไม่เป็นอันตรายมากนัก ส่วนใหญ่มักหายเป็นปกติในช่วงเวลา 3 เดือน โดยอาจใช้ยาบางชนิดร่วมด้วยเพื่อให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่ระหว่างนั้นก็ควรระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการติดเชื้อที่กระจกตาและตาแห้ง ซึ่งหากอาการไม่ดีขึ้นก็ยังมีแนวทางการรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

หัวใจโต (enlarged heart) อันตรายแค่ไหน


หัวใจโต (enlarged heart) อันตรายแค่ไหน

โดย : นพ.วรวุฒิเจริญศิริ

หัวใจ โต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกติ…
อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่
  1. ความดันโลหิตสูง ขณะ ที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หาก หัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ
  2. โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วน ใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำ ให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ใน ประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมี ความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของ หลอดเลือดทั่วร่างกาย มาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ
  5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อ ว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะ สำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิต เพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอก จากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ
อาการ
ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจ ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น
ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่ เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจ ล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
สามารถให้การวินิจฉัยได้จาก การซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ข้อควรระวังคือการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิ ได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้
ภาพรังสีทรวงอกบอก ขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บาง ครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่ง ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ
การรักษา
หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็น การให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น
นอกจากนั้นยังควรให้ ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

หูอักเสบ


หูอักเสบ

โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
หูของคนเราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นนอก หมายถึง ส่วนของใบหู รูหู รวมไปถึงเยื่อแก้วหู หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างแก้วหู และหูชั้นใน ภายในหูชั้นกลาง มีกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้น กระดูกฆ้อน ทั่ง โกลน ซึ่งถือเป็นกระดูกที่เล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์ …
หูของคนเราแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นนอก หมายถึง ส่วนของใบหู รูหู รวมไปถึงเยื่อแก้วหู หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างแก้วหู และหูชั้นใน ภายในหูชั้นกลาง มีกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้น กระดูกฆ้อน ทั่ง โกลน ซึ่งถือเป็นกระดูกที่เล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกทั้งสามชิ้นมาต่อเชื่อมกัน เพื่อนำเสียงเข้าสู่หูชั้นใน ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทรับการได้ยิน และเซลล์ประสาทควบคุมการทรงตัวของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลาง กับภายในโพรงจมูก ทำหน้าที่ปรับความดันภายในหูให้กับภายนอก
การอักเสบของหูชั้นนอกที่พบบ่อย เป็นการอักเสบของรูหู ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือผื่นแพ้ โดยมากมักเริ่มจากมีน้ำเข้าหู และค้างอยู่ในหู ทำให้มีโอกาสที่เชื้อรา หรือแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ก่อให้เกิดอาการอักเสบในรูหู การแคะหูทำให้มีแผลถลอกของรูหู และเกิดการติดเชื้อตามมาได้ โรคผิวหนังบางชนิดก็เกิดกับผิวหนังของรูหูได้เช่นกัน เช่น โรคผิวหนังตกสะเก็ด และโรคผื่นแพ้ จะทำให้มีอาการบวมแดงของรูหู ร่วมกับมีสะเก็ดลอกของผิวหนังของรูหูร่วมด้วย อาการของหูชั้นนอกอักเสบ มักเกิดภายหลังว่ายน้ำหรือแคะหู โดยผู้ป่วยจะมักมีอาการปวดหู หูเป็นน้ำเยิ้ม คล้ายหูแฉะเป็นอาการหลัก บางรายมีอาการบวมแดงของรูหูและใบหู ซึ่งจะมีอาการหูอื้อตามมา โดยเฉพาะในรายที่มีเชื้อราหรือขี้หูมาก อาจทำให้รูหูอุดตัน ได้ยินไม่ชัด ทำให้ผู้ป่วยรำคาญ และมาหาแพทย์ การอักเสบของหูชั้นนอก ผรั่งเรียกว่า swimmer’s ear
ส่วนใหญ่จะให้การรักษาตามสาเหตุ ด้วยการทำความสะอาดหู ดูดหนอง หรือขี้หูออก แล้วเช็ดด้วยยาปฏิชีวนะ หรือยาเพิ่มความเป็นกรดในรูหู จะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการล้างหู หรือแคะหูด้วยตนเอง ในกรณีที่น้ำเข้าหูแล้วต้องการซับออกให้แห้ง โดยใช้ไม้พันสำลี ก็ควรจะทำด้วยความระมัดระวัง
หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างแก้วหูกับหูชั้นใน เมื่อเกิดการอักเสบติดเชื้อ เชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลาง ก่อให้เกิดหนอง ซึ่งมีทั้งเชื้อก่อเหตุและเซลล์ของร่างกายที่ต่อสู้ กับเชื้อโรค โพรงอากาศในหูชั้นกลางจึงเต็มไปด้วยหนอง ทำให้เกิดอาการเจ็บหู และหูอื้อ เชื้อโรคมาทางท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลาง กับภายในโพรงจมูก ในขณะที่เป็นเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ การทำงานของท่อเชื่อมดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์และท่อยังมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธภาพ จึงเกิดการติดเชื้อได้บ่อย เมื่อโตขึ้นก็จะไม่ค่อยเป็น ยกเว้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือเวลาที่เป็นหวัด การอักเสบของหูชั้นกลางพบได้บ่อยในเด็ก ถือว่าเป็นโรคของเด็กที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง ก่อนอายุ 2 ปี เด็กเล็กเกือบทุกคนจะเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ เรียกว่า middle ear infection หรือ otitis media สาเหตุก็มักจะเป็นผล มาจากการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบน แล้วลามมายังหู เด็กจะมีอาการไข้ และปวดหู การสังเกต หรือคอยติดตามดูอาการ จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถนำเด็กมาพบแพทย์ได้เร็วขึ้น โดยเด็กมักจะบ่นปวดหู หูอื้อ มีไข้ขึ้น ภายหลังจากเป็นหวัด ไอ มาได้ 3-4 วัน ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจร้องกวนโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อบุตรหลานของท่านมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ กรณีที่ปวดมากและไม่ดีขึ้นภายหลังให้ยา แพทย์อาจพิจารณาเจาะแก้วหูเป็นรูเล็กๆ เพื่อระบายหนองออก และป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
หูน้ำหนวก หมายถึง การที่มีหนองไหลออกมาจากหูเรื้อรัง อันมีสาเหตุมาจากการอักเสบของหูชั้นกลาง โดยมีการทะลุของแก้วหู ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือหูอื้อร่วมด้วยแล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระยะเวลาที่เป็น ส่วนใหญ่มักเป็นมาตั้งแต่เด็กๆ เป็นๆ หายๆ มาตลอด โดยจะมีอาการเมื่อเป็นหวัด เจ็บคอหรือภายหลังการว่ายน้ำ ดำน้ำ เนื่องจากโรคหูน้ำหนวกมีหลายชนิด และบางชนิดอาจทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น ปากเบี้ยว หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไปจนถึงฝีในสมองได้ จึงมีความจำเป็นที่ ท่านควรจะได้มีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหูน้ำหนวกชนิดนี้เอาไว้บ้าง หูน้ำหนวกกลุ่มที่จัดว่าอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่พวกที่มีหนองไหลตลอดทั้งปี ไม่เคยแห้งเลย แถมยังมีกลิ่นหนองเหม็นมาก พวกหูน้ำหนวก ที่มีอาการปวดหูปวดหัวเรื้อรัง พวกที่เคยมีประวัติฝี หรือหนองแตกที่บริเวณหลังกกหู จึงควรที่ผู้ป่วยหูน้ำหนวกในกลุ่มนี้จะได้รีบพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการรักษา ก่อนที่จะมีโรคแทรกซ้อนที่ถาวร และร้ายแรงตามมา ปัจจุบันได้มีการใช้กล้องจุลทัศน์ ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย เรียกว่า microsurgery โดยมีเป้าหมายในการผ่าตัดที่สำคัญสองประการ ประการแรกเพื่อทำให้หูแห้ง และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมา ประการที่สอง คือการแก้ไขช่วยให้การได้ยินดีขึ้น ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหูน้ำหนวก จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในหู คือ Branhamella catarrhalis (นิยมเรียกย่อๆว่า B-cat) นอกจากนี้ ยังมีเชื้อสเตร็ฟโตคอคคัส Streptococcus pneumoniae หรือที่เรียกว่า นิวโมคอคคัส pneumococcus เชื้อฮีโมฟีลุส Haemophilus influenza และ Moraxella catarrhalis ส่วนเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ Respiratory syncytial virus (RSV) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza (flu) viruses และไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ อีกหลายชนิด

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

20 สัญญาณมะเร็งที่ผู้หญิงมักมองข้าม


 โรค มะเร็งเป็นโรคที่น่ากลัวในปัจจุบันนี้แม้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยวิธี ต่างๆ จะมีความสำคัญและสามารถช่วยให้เรารู้ทันมะเร็งร้ายได้ แต่การสังเกตสัญญาณเตือนและการใส่ใจกับอาการผิดปกติของร่างกายตนเอง ก็เป็นขั้นตอนการตรวจอาการเบื้องต้น ก็จะช่วยให้คุณรับมือกับโรคได้ง่ายกว่านี้

อาการเตือนของโรคมะเร็งที่มักถูกมองข้าม ได้แก่

      1. หายใจมีเสียงหวีดหรือหายใจไม่ทัน หนึ่งในอาการแรกของโรคมะเร็งปอดที่ผู้ป่วย นึกออกเมื่อมองย้อนกลับไปดูก็คืออาการหายใจไม่ทัน
2. ไอเรื้อรังหรือเจ็บหน้าอก มะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งปอดอาจทำให้มีอาการคล้าย กับไอเรื้อรังหรือหลอดลมอักเสบได้ แต่การไอของโรคมะเร็งจะมีความแตกต่างคือเป็นเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางรายยังมีอาการปวดหน้าอกที่ลามไปยังไหล่หรือ แขนอีกด้วย
3. มีไข้หรือติดเชื้อบ่อย อาการนี้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติและจะไปเบียดเบียนเซลล์เม็ด เลือดขาวปกติ ทำให้ร่างกายขาดความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรค แพทย์มักตรวจพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ใหญ่ที่ป่วยและมาพบแพทย์ซ้ำๆ ด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยตัว และอาการคล้ายไข้หวัดเป็นเวลานาน
4. กลืนลำบาก แม้อาการนี้จะสัมพันธ์กับมะเร็งในหลอดอาหารหรือลำคอที่สุด แต่บางครั้งอาการกลืนอาหารลำบากก็เป็นสัญญาณแรกของมะเร็งปอดได้เช่นกัน
5. ต่อมน้ำเหลืองโตหรือก้อนที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบ ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงในระบบน้ำเหลือง ซึ่งอาจจะเป็นอาการของโรคมะเร็ง เป็นต้นว่า ก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองโตที่ใต้รักแร้อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งเต้านม ขณะที่ก้อนที่ลำคอ รักแร้ หรือขาหนีบที่ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเม็ด เลือดขาว
6. รอยฟกช้ำหรือเลือดออกไม่หยุด อาการนี้มักชี้ถึงความผิดปกติของเกล็ดเลือดและ เม็ดเลือดแดงซึ่งอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางรายพบรอยช้ำที่บริเวณแปลกๆ เช่น ตามนิ้วและมือ ทั้งยังมีรอยแดงที่ใบหน้า ลำคอ และหน้าอก หรือมีอาการเลือดออกที่เหงือก เนื่องจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้นจนไปเบียดเบียนเซลล์เม็ดเลือด แดงและเกล็ดเลือด ทำให้ความสามารถในการนำส่งออกซิเจนและแข็งตัวของเลือดลดลง
7. อ่อนเปลี้ยเพลียแรง หากรู้สึกเหนื่อยโดยไม่มีสาเหตุ และแม้จะนอนพักเพิ่มแล้วก็ยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าเป็นอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด ซึ่งต้องอาศัยอาการอื่นประกอบในการวินิจฉัย
8. ท้องอืดหรืออ้วนลงพุง (“ใส่กางเกงตัวโปรด” ไม่ได้แล้ว) อาการนี้อาจจะดูธรรมดาเกินกว่าจะเป็นอาการของโรคมะเร็ง แต่ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งจำนวนมากบอกว่าอาการท้องอืด โดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งเกิดขึ้นโดยฉับพลันและเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานานคือหนึ่งในอาการที่เตือนว่ามีบางสิ่งผิดปกติ (ซึ่งต่างจากอาการที่เกิดขึ้นเพียงเดือนละไม่กี่วันของภาวะก่อนมีประจำ เดือน)
9. รู้สึกอิ่มและไม่อยากอาหาร ผู้หญิงคนใดก็ตามที่รู้สึกไม่อยากอาหารและทาน อะไรไม่ลงแม้จะไม่ได้ทานอะไรมานานแล้ว รู้สึกท้องอืดและน้ำหนักเพิ่มบ่อย (เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคอยู่ที่ 13 ครั้งในเวลาหนึ่งเดือน) นั่นเป็นอีกอาการนำของโรคมะเร็งรังไข่ ยิ่งถ้ามีอาการปวดท้องน้อยหรืออิ่มผิดปกติร่วมด้วยแล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อขอทำอัลตราซาวนด์ตรวจท้องน้อย
10. ปวดท้องน้อยหรือปวดท้อง อาการปวดท้องน้อยเพียงอย่างเดียวอาจหมายถึงได้ทั้ง ภาวะพังผืดในมดลูก ซีสต์ในรังไข่ และความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์อื่นๆ แพทย์จึงมักไม่สงสัยเรื่องโรคมะเร็ง ดังนั้นคุณจึงควรขอให้แพทย์ตรวจร่างกายโดยละเอียด เนื่องจากอาการปวดและตะคริวที่ท้องน้อยหรือช่องท้องอาจเกิดร่วมกับอาการท้อง อืดซึ่งเป็นอาการของโรคมะเร็งรังไข่ได้ นอกจากนี้การขยายตัวของม้ามในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็อาจก่อให้เกิด อาการปวดท้องเช่นกัน
11. อาการเลือดออกที่ทวารหนักหรือถ่ายปนเลือด หลายคนอาจคิดว่าอาการถ่ายปนเลือด เป็นแค่ริดสีดวง แต่เมื่อไปพบแพทย์กลับตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
12. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าพบว่าน้ำหนักตัวลดลงทั้งที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง การกินอาหารหรือการออกกำลังกาย ก็อาจสงสัยได้ว่าเป็นอาการเบื้องต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งอื่นๆ ในทางเดินอาหาร และยังอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ามะเร็งได้ลามไปถึงตับแล้ว จึงส่งผลต่อความอยากอาหารและความสามารถในการขจัดของเสียออกจากร่างกาย
13. อาหารไม่ย่อยหรือปวดกระเพาะ
อาจฟังดูเป็นเรื่องธรรมดาแต่ก็ช่วยให้แพทย์สั่งตรวจอัลตราซาวนด์และสามารถพบ มะเร็งตับได้แต่เนิ่นๆ อีกทั้งอาการปวดเกร็งช่องท้องหรืออาหารไม่ย่อยเป็นประจำอาจแสดงถึงโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่
14. เต้านมบวม แดง หรือเจ็บ อาจบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งเต้านมชนิดอักเสบ (inflammatory breast cancer) ซึ่งมีอาการบวม ร้อนที่เต้านม สีที่เปลี่ยนไปเป็นแดงหรือม่วงก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่ควรระวังไม่ต่างจาก พบรอยบุ๋มคล้ายผิวส้มที่ผิวเต้านม นอกจากนี้โรคมะเร็งเต้านมชนิดอักเสบยังอาจก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ที่หัวนม เช่น อาการคัน ผิวลอกเป็นแผ่น หรือแตกเป็นสะเก็ดได้อีกด้วย
15. หัวนมผิดปกติ หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เต้านมคือ จู่ๆ หัวนมก็เริ่มบอด แบน หรือเบี้ยวไปด้านข้าง คุณจึงควรใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงที่หัวนม
16. ประจำเดือนมามากหรือปวดประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย นี่คือสัญญาณของโรคมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก หรือมดลูก หากคุณสงสัยว่าอาการประจำเดือนออกมากของคุณมีสาเหตุแอบแฝง ก็ลองขอให้แพทย์ทำอัลตราซาวนด์ผ่านช่องคลอดดูได้ค่ะ
17. อาการบวมที่ใบหน้า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางรายมีอาการบวมหรือแดงที่ใบหน้า ซึ่งเป็นเพราะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) มักจะไปกดเส้นเลือดแดงในหน้าอก ทำให้เลือดไหลเวียนจากศีรษะและใบหน้าไม่สะดวก
18. แผลหรือตุ่มที่ผิวหนังซึ่งไม่ยอมหาย ตกสะเก็ด หรือเลือดออกง่าย
เราส่วนใหญ่รู้เพียงว่าการเปลี่ยนแปลงของไฝฝ้าอาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรค มะเร็งผิวหนัง แต่การที่มีตุ่มซึ่งดูเงามัน หรือสะเก็ดแห้งที่ผิวหนัง ก็เป็นลักษณะของมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีหรือมะเร็งไฝ (melanoma) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า (basal cell carcinoma) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า (squamous cell carcinoma)
19. ความผิดปกติที่เล็บ จุดหรือเส้นสีดำใต้เล

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid

 

       โรค ไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิด ปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อม ไทรอยด์ เกิดจากฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต ออกฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าบางครอบครัวเป็นโรคนี้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า
ต่อมไทรอยด์เป็น ต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าหรือผีเสื้อ ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดยาว 4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ต่อมไทรอยด์สร้างเองโดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่กินเข้าไปเป็น วัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็นปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจกับประสาท ไทรอยด์ฮอร์โมนยังทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ T4 และ T3 โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียกว่า hypothyroid ร่างกายจะเกิด การเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดเรียก ว่า hyperthyroid
ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์มี มากมายหลายชนิด มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายหลายเท่า โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไป เรียกว่าโรคคอพอก ซึ่งจำแนกออกได้เป็นคอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจากนั้นยังมีโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีสต์ของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่ทำงานน้อยไปเรียก hypothyroid ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียกว่า hyperthyroid
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรค hyperthyroid เท่านั้น ซึ่ง สาเหตุสำคัญของโรคคอพอกเป็นพิษคือ โรค Grave’s disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม บางคนเป็นโรค multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อนในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และสาเหตุที่พบน้อยกว่าโรคอื่นคือ thyroiditis ช่วงแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ
ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะ มีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ ก็เพราะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ
image
การวินิจฉัยโดยตรวจเลือดพบว่าระดับ T3 หรือ T4 ในเลือดสูง และ ระดับ TSH ในเลือดต่ำ เรียกว่าเป็นการตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมนTSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 และ T4 เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง การตรวจไทรอยด์สแกนเพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือมีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากการตรวจไทรอยด์สแกนเป็นการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับ ประทานเกลือไอโอดีนที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ของการสแกนเพื่อบอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ ตรวจว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ และช่วยแยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็นชนิดใด สำหรับวิธี needle aspiration เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา การตรวจอุลตราซาวน์ก็เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น ถุงน้ำชนิดธรรมดา
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์ จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษาโดยกินยาที่มีฤทธิ์ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีนชนิดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาเพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่าการดื่มน้ำแร่นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยแต่ละรายได้
การรักษาโดยการกินยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole ส่วนการใช้ยาอื่นๆ beta-blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค ยารับประทานสำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษที่มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมี เพียงสองชนิดเท่านั้น หากแพ้ยาชนิดแรกอาจลองใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง หากลักษณะของการแพ้ยาเป็นแบบคัน,ผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อลดจำนวนเม็ดยาลง แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ควบคู่ไปกับยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ
image
การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodine เมื่อ ผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับไอโอดีนที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยาไทรอยด์ ฮอร์โมนไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่ รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง โดยทั่วไปการรักษาไทรอยด์เป็นพิษคือ การกินยารักษาไทรอยด์ ซึ่งจะให้กินประมาณ 2 ปี ถ้ากินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หาย หรือไม่สามารถหยุดยาได้ จึงแนะนำรักษาด้วยการกลืนแร่รังสี การกลืนแร่รังสีทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การกลืนน้ำแร่ (ไม่ใช่กลืนก้อนแร่) เป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง “น้ำแร่” คือ ไอโอดีนพิเศษที่มีคุณสมบัติปลดปล่อยรังสีได้ ให้ผู้ป่วยดื่มเพียงครั้งเดียว ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นใด ต่อมไทรอยด์จะค่อยๆ ฝ่อจากฤทธิ์ของรังสี เมื่อต่อมไทรอยด์ฝ่อแล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหาย ปริมาณรังสีจากน้ำแร่ไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร
สำหรับการผ่าตัด ปัจจุบัน ได้รับความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใดของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, คอพอก เป็นต้น สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น และมียาที่จะใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่ว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องตรวจถี่ขึ้น เจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์บ่อยขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าโรคประจำตัวจะเป็นสาเหตุของความพิการในเด็ก การทำแท้งไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้นกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษเมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้ง ครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU, metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้ การให้ฮอร์โมนไทรอกซินระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์
ระหว่างที่ให้นมบุตร ไม่ ควรตรวจไทรอยด์สแกน หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษา เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน และ PTU สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย ในแง่ของการเป็นหมัน ทั้งคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคน ปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประ

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

อาการชี้แนะว่าเป็น..โรคโลหิตจาง


 ใน ภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่า ค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง”…
เลือดจางหรือโลหิตจางเป็นคำที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นคนหน้าซีดๆ ผิวซีดๆ ไม่มีแรงก็มักจะลงความเห็นกันไว้ก่อนว่าเป็นโลหิตจาง นี่เป็นการลงความเห็นโดยอาศัยข้อมูลจากลักษณะที่พบ เห็นได้โดยง่าย ซึ่งในทางการแพทย์เราก็ใช้ นอกจากนี้มีข้อมูลอื่นๆ อีกที่เป็นประโยชน์ ที่จะช่วยลงความเห็นว่า มีภาวะโลหิตจางหรือไม่และอาจช่วยบอกต่อว่าโลหิตจาง
เกิดจากสาเหตุใดด้วยโลหิตจาง (anemia) โลหิตจางหรือเลือดจาง (anemia) เป็นภาวะที่จำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายลดน้อยลง ผู้ที่มีโลหิตจาง จะมีอาการซีด, เพลีย, เหนื่อยง่าย ทำงานไม่ค่อยไหว ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางรุนแรงอาจจะมีการทำงานของ หัวใจล้มเหลว เกิดภาวะหัวใจวาย และสมองจะทำงานช้าลง จนกระทั่งหมดสติได้

โรคหรือสาเหตุของโลหิตจางมีหลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 
1) การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก, โฟเลต (folate), วิตามินบี 12, โรคไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia), โรคที่มีเซลล์มะเร็งในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น
2) การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากกระแสเลือด ได้แก่การเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง (ซึ่งชนิดเรื้อรังจะทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก), การที่เม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคที่ร่างกายต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง (โรค autoimmune hemolytic anemia), โรคโลหิตจางกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรคขาดเอ็นซัยม์ของเม็ดเลือดแดง, โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น อาการอ่อนเพลีย, เหนื่อยง่าย ที่พบในภาวะโลหิตจางอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภาวะโลหิตจาง เช่น โรคหัวใจ, โรคปอดเป็นต้น แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะโลหิตจางได้โดยการตรวจวัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงใน เลือดหรือวัด ความเข้มข้นของสีฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง) ในเลือด หลังจากนั้นแพทย์จะต้องตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางนั้น ๆ เพื่อให้การรักษาได้ตรงตามสาเหตุต่อไป ]
อาการที่ชี้แนะว่า โลหิตจาง ผู้ที่โลหิตจางไม่มากหรือไม่มีโรคหลอดเลือดร่วมด้วยอาจไม่มีอาการก็ได้ อาการจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโลหิตจาง และความเฉียบพลันของการเกิดโรคครับ 
1. อาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยง่ายหมายถึงรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง เช่น เคยเดินบันไดได้ โดยไม่เหนื่อยแต่กลับเหนื่อย ถ้ามีโลหิตจางรุนแรง แค่เดินในบ้านก็อาจเหนื่อยแล้ว เวลาเหนื่อยอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย ที่รุนแรงอาการมีอาการของโรคหัวใจวาย คือ เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ เป็นต้น
2. อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
3. อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
4. อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร นอนไม่หลับ
5. อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง ทำให้อาการของหัวใจรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น
6. อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลอดเลือดของขาทำให้ปวดขา เวลาเดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดพักบ่อยๆ เวลาเดิน
7. อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด

ประวัติที่ชี้แนะสาเหตุของโลหิตจาง
1. ระยะการเกิดอาการ หมายถึงว่าเกิดอาการโดยรวดเร็วเฉียบพลัน หรือเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ จากอาการต่างๆ 1 ถึง 7 ข้อที่ชี้แนะว่ามีโลหิตจางที่ผมกล่าวมาข้างต้นหากพบว่า อาการพวกนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือกะทันหันก็พอบอกได้ว่า เกิดจากสาเหตุของโลหิตจางชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าระยะการเกิดอาการเป็นแบบช้าๆ เนิ่นนานไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ ค่อยๆ เป็นจากน้อยๆ ก่อนแล้วมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่า สาเหตุของโลหิตจางเป็นชนิดเรื้อรังครับ
2. ประวัติการเสียเลือด หมายถึงมีการสูญเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง เมื่อเสียมากก็จะเกิดภาวะโลหิตจางตามมาครับ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการทั้ง 3 ข้างต้นอาจหมายถึงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร แล้วมีเลือดออกจากแผลจนเกิดการสูญเสียเลือดและภาวะโลหิตจางตามมา หากมีประวัติการกินยาหรือยาโรคปวดข้อ ปวดกระดูกร่วมด้วยอาจหมายถึง โรคกระเพาะดังกล่าวเกิดจากยาที่กิน ประวัติมีประจำเดือนมามากหรือมาบ่อย ประวัติเป็นริดสีดวงทวารถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ ประวัติบาดเจ็บมีแผลเลือดออกมาก อาการเหล่านี้ก็ช่วยบอกว่าโลหิตจางเกิดจากสาเหตุอะไร ประวัติดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้มแบบน้ำปลาหรือสีโคคาโคล่า อาจบ่งบอกถึงว่าโลหิตจางเกิดจากภาวะการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
3. ประวัติอาการร่วมอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ มีจุดหรือจ้ำเลือดตามตัวบ่อยๆ อาการนี้อาจหมายถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ที่นำไปสู่การสูญเสียเลือด และเกิดโลหิตจางตามมา เป็นไข้หรือโรคติดเชื้อบ่อยๆ อาจแสดงถึงปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อป่วยบ่อยๆ ก็นำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้ เป็นโรคระบบอื่นอยู่ เช่น โรคไต โรคตับ โรคข้ออักเสบ โรคมะเร็ง ฯลฯ โรคเรื้อรังเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโลหิตจางได้ครับ
โรคโลหิตจาง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก “โลหิตจาก” การขาดธาตุเหล็กนี้พบได้บ่อยในชาวชนบท ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร ผู้ที่เพิ่งแท้งบุตรหรือหญิงหลังคลอด ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคริดสีดวงทวาร
2. โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก โดยปกติ “เม็ดเลือดแดง” จะมีชีวิตอยู่ในร่างกายประมาณ 120 วัน แล้วจะเสื่อมสลายไปพร้อมกับมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่ไขกระดูกสร้างเข้ามาทดแทน จึงเกิดภาวะสมดุลในร่างกายไม่เกิดภาวะโลหิตจาง สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายมีอยู่ 2 ประการคือ
2.1 ภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี (G-6-PD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ทั่วไปในเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อขาดเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้เป็นโรคพบจากรรมพันธุ์ ที่แสดงอาหารในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
2.2 โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
3. โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ เนื่องจากไขกระดูที่อยู่ในโพรงกระดูกทั่วร่างกายมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด หากมีความผิดปกติของไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง ก็จะเกิดภาวะโลหิตจางขึ้นโดยสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบอาจเกิดจากพิษของยา หรือสารเคมีไปทำลายไข กระดูก เช่น ยาเฟนิลบิวทาโซน คลอแรมเฟนิคอล ซัลฟา หรือเคมีจำพวกน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน รังสีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
อาการแสดง อาการแสดง หมายถึง ลักษณะที่พบเห็นหรือตรวจพบในตัวผู้ป่วย ที่มีเลือดจาง มี 2 ชนิดครับ คือ ชนิดที่บอกว่า มีภาวะโลหิตจางและที่บอกว่า มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เลือดจาง
1. อาการแสดงที่บอกว่ามีภาวะโลหิตจาง อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ลักษณะซีด – ดูได้จากสีของผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ใต้เล็บ – หรือดูจากสีของเยื่อบุด้านในของเปลือกตาล่าง (พลิกเปลือกตาดู)
2. อาการแสดงที่ช่วยชี้แนะถึงสาเหตุของโลหิตจาง
- มีตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) อย่างอ่อน แสดงถึงภาวะโลหิตจาง จากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
- มีจุดและจ้ำเลือดตามตัวชี้แนะถึงการมีเกร็ดเลือดต่ำ เป็นโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว หรือโรคที่เกิดการทำลายทั้งเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด
- ลิ้นเลี่ยน อาจแสดงถึงโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผิวลิ้นจะเลี่ยนและซีด
- เล็บอ่อนยุบเป็นแอ่ง พบในโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
- ความดันโลหิตสูง อาจหมายถึงโลหิตจางจากไตวายเรื้อรัง – ความดันโลหิตต่ำ อาจหมายถึงภาวะช็อกจากการสูญเสียโลหิตอย่างรวดเร็ว เช่น
- เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารหรือจากภาวะหัวใจวาย – ตับและม้ามโต พบได้ในโลหิตจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ต่อมน้ำเหลืองโต อาจหมายถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักจะมีตับโตและม้ามโตด้วย
- อาการบวม ผิวแห้ง มักพบในโรคไต – อาการขึ้นผื่นที่ใบหน้า และผมร่วง พบในโรคเอสแอลอี (SLE)
- ท้องมาน พบในโรคตับแข็ง – ข้อบวม พิการ พบในโรคข้อเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์อาไทรติส โรคเอสแอลอี เป็นต้น โลหิต
จางที่พบบ่อยในบ้านเราเกิดจาก การขาดธาตุเหล็ก จากโรคเลือดธาลัสซีเมีย และเกิดจากโรคในระบบอื่นครับ ระยะการเริ่มเกิดของโรค อาจแบ่งโลหิตจางได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ก. โลหิตจางเฉียบพลัน หมายถึงมีอาการของโลหิตจางเกิดขึ้นใน 7-10 วัน ซึ่งเกิดจาก
1. เสียเลือดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร จากประจำเดือนออกมาก
2. เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเฉียบพลัน จะมีอาการร่วมคือดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้ม อาจมีไข้ ม้ามอาจโต ถ้ามีประวัติเข้าป่า อาจเป็นมาลาเรีย
3. อาจเกิดจากมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน ซึ่งจะมีไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ข. โลหิตจางเรื้อรัง เกิดอาการโลหิตจางนานกว่า 10 วัน อาจเป็นเดือนๆ ก็ได้ การตรวจสอบลักษณะทางคลินิกจากประวัติ อาการและอาการแสดงจะช่วยชี้แนะ ถึงสาเหตุของโลหิตจางได้ครับ ประวัติการเสียเลือดเรื้อรัง เกิดภาวะของธาตุเหล็ก ที่พบบ่อยได้แก่โรคกระเพาะอาหาร โรคประจำเดือนมาก ริดสีดวงทวารหนัก หรือมีพยาธิปากขอที่ดูดเลือดจากลำไส้ ลักษณะของธาลัสซีเมียจากหน้าตาและผิวพรรณ ลักษณะทางคลินิกของโรคตับ โรคไต โรคเอสแอลอี ฯลฯ ลักษณะทางคลินิกของการขาดสารอาหาร เช่น เลือกกินเฉพาะอาหารบางชนิด กินอาหารน้อย ติดสุรา ฯลฯ

การรักษาโลหิตจาง หลักการสำคัญในการรักษาโลหิตจางคือ รักษาที่สาเหตุของโลหิตจางครับ แนวทางการรักษาประกอบด้วย
1. การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น – รักษาภาวะหัวใจวาย – ลดการออกแรง – ให้ออกซิเย่น – ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลันผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำ เป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตามครับ
2. การรักษาจำเพาะ เป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัดสาเหตุ (ถ้าทำได้) และให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอครับ

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง


โรค ภูมิคุ้มกันตัวเอง อีกหนึ่งโรคที่คุณเองจะต้องเพิ่มความระมัดระวังซึ่งอาการของโรคนั้นอาจจะมี อาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือบางทีอาจใช้เวลานานหลายปี ถึงจะแสดงอาการออกมา คุณจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ” โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง”)  เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

ภูมิ ต้านทานชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปุสจะจับและทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย โรคลูปุสเองขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็ จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง สาเหตุ
ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
  1. กรรมพันธุ์
  2. ฮอร์โมนเพศหญิง
  3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด,โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
  1. แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต
  2. การตั้งครรภ์
  3. ยาบางชนิด
อาการของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อี
  1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน
  2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ
  3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด
  4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น
  5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้า
การรักษาของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
  1. ควร เข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อยๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
  2. พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
  3. ผล ของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
นอก จากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกๆ มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดีๆ ที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุ คือ
  • จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง
  • จาก ภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
  • จาก ยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เช่น ยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็น สัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบาง ชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ สิ่งสำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล อย่างเคร่งครัด

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites